หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สวัสดิการโดยรัฐที่ต้องพิสูจน์ความจน

เนื้อหาโดย Wut15

[ สวัสดิการโดยรัฐที่ต้องพิสูจน์ความจน

จะทำให้คนไทยมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ไปพร้อมๆ กันได้อย่างไร ]

ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ - ทนายแจม - Sasinan Thamnithinan สส.กรุงเทพฯ (เขตสายไหม) พรรคก้าวไกล ลุกขึ้นอภิปรายในการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา เกี่ยวกับนโยบายสวัสดิการแม่และเด็ก โดยระบุว่า จากที่อ่านคำแถลงนโยบายของรัฐบาล เห็นถึงความตั้งใจที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติที่น่ากังวลไม่น้อยไปกว่าวิกฤตทางเศรษฐกิจ นั่นคือ ‘อัตราเด็กเกิดใหม่ลดลง’ ในขณะที่ประเทศก้าวเข้าสู่ ‘สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์’

จากเดิมในปี 2506-2526 มีเด็กเกิดใหม่ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านคน ลดลงเหลือ 502,107 คน ในปี 2565 และอาจจะต่ำกว่า 500,000 คน ในปี 2566 ทำให้ในปีนี้ จะเป็นปีแรกที่จำนวนประชากรเข้าสู่วัยแรงงาน ไม่สามารถชดเชยจำนวนประชากรที่ออกจากวัยแรงงาน

นี่คือ ‘วิกฤตเงียบ’ ที่จะก่อให้เกิดปัญหาอีกหลายเรื่องตามมาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น เรื่องคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย วิกฤตการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งแรงงานนั้น เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนประเทศ

ในคำแถลงนโยบาย เขียนถึงความท้าทายในอนาคตที่เราจะเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ แต่ทางออกที่เราควรต้องมีอย่างการสนับสนุนให้ทรัพยากรมนุษย์ของไทยมีคุณภาพ กลับไม่มีเลยในคำแถลงนโยบายของรัฐบาล

ยิ่งไปกว่านั้น คำแถลงนโยบายเรื่องสวัสดิการ มีคำหนึ่งที่ดิฉันรู้สึกไม่สบายใจ คือคำว่า ‘สวัสดิการโดยรัฐ’ ฟังแล้วแทบไม่ต่างจาก ‘สวัสดิการแห่งรัฐ’ ของรัฐบาลที่แล้ว โดยได้เขียนว่า ‘สวัสดิการโดยรัฐ’ จะมีให้สำหรับ ‘กลุ่มเปราะบาง’ คนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มชาติพันธ์ุเท่านั้น ทำให้เข้าใจได้ว่าการที่ประชาชนจะได้รับสวัสดิการ ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลแต่ละยุคสมัย จะให้หรือไม่ให้ก็ได้ ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่ประชาชนเป็นหนี้บุญคุณรัฐบาลชุดนั้น แถมยังจำกัดผู้รับสวัสดิการ เป็นแค่คนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

แตกต่างจาก ‘สวัสดิการแบบถ้วนหน้า’ ที่ยืนยันว่า ทุกคนที่เกิดในประเทศนี้ ต้องได้รับบริการหรือสวัสดิการจากรัฐอย่างไม่มีตกหล่น ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใดๆ มาบริหารก็ตาม ประชาชนในประเทศต้องได้รับเท่าเทียมกัน เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องให้บริการประชาชน

ดังนั้น สิ่งที่รัฐควรทำ คือการต้องยิ่งลงทุน ส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพมากขึ้น โดยไม่ได้เลือกว่าใครยากจน ใครเปราะบาง ดังนั้น ในแง่นี้สวัสดิการจึงเป็นเรื่องของการลงทุนกับอนาคต และเป็นทางออกสำหรับวิกฤติของประเทศ

และเพราะ ‘ทรัพยากรมนุษย์’ เป็นกำลังสำคัญในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ หลายประเทศจึงรณรงค์และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับและกระตุ้นให้คนต้องการสร้างครอบครัวและให้กำเนิดเด็ก มีคำกล่าวหนึ่งว่า “อยากเห็นอนาคตของประเทศไหน ให้ดูที่การให้ความสำคัญกับเด็กเล็กในประเทศนั้นๆ”

คำกล่าวนี้ไม่เกินจริง เพราะการเติบโตในช่วง 0-7 ปีแรกของชีวิต มีงานวิชาการและผลวิจัยมากมายรองรับว่า เป็นช่วงเวลาที่กำหนดบุคลิก ลักษณะนิสัยของเด็กคนนั้นเมื่อโตมาเป็นผู้ใหญ่ ช่วงเวลาหลังคลอด 0-6 เดือนแรก ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำว่าลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เป็นช่วงเวลาทองช่วงหนึ่ง ที่การเชื่อมต่อ การสร้างความไว้ใจ ( Trust ) และสายสัมพันธ์ (attachment) ระหว่างแม่และลูก ซึ่งศศินันท์ยืนยันว่า นี่ไม่ใช่เรื่องโรแมนติก แต่เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยยึดโยงจิตใจ เด็กคนนั้นเติบโตจะฉุกคิด เมื่อต้องเจอปัญหา หรือเรื่องที่ต้องตัดสินใจในอนาคต แก้ไขปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ตั้งแต่วัยเด็ก

แต่ปัจจุบัน ประเทศไทยยังลาคลอดได้แค่ 3 เดือน การจะให้นมลูกนานกว่านั้นได้ เป็นภาระที่หนักอึ้ง ทั้งการหาห้องปั้มนม การพกเครื่องปั้มนม ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ควรเป็นสวัสดิการพื้นฐานที่รัฐให้ประชาชน โดยเฉพาะคุณแม่ทุกคนที่กำลังบ่มเพาะทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของเรา

นอกจากแม่แล้ว พ่อก็มีความสำคัญ งานวิจัยหนึ่งอธิบายว่า ยิ่งพ่อลามาช่วยเลี้ยงดูลูกนานเท่าไร ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวก็จะดีขึ้นเท่านั้น เพราะการลาคลอดของพ่อช่วยให้เขาได้แบ่งความรับผิดชอบมาจากภรรยา และได้ช่วยสนับสนุนทางจิตใจให้กับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการความช่วยเหลือ นี่คือหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มความเท่าเทียมทางเพศและลดอคติเกี่ยวกับบทบาททางเพศ ช่วยให้คนเลิกมองว่าพ่อคือคนหาเลี้ยงครอบครัว แม่คือผู้ดูแลลูกและสามี เพราะในยุคนี้ บทบาท ไม่ได้ถูกผูกติด กับ ‘เพศ’ อีกต่อไป

ดังนั้น สิทธิลาคลอด 6 เดือน พ่อแม่แบ่งกันได้ ห้องให้นมในที่ทำงานและที่สาธารณะ ศูนย์เด็กอ่อนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีคุณภาพ จะทำให้เราสามารถพัฒนาบุคลากรของประเทศได้ตั้งแต่ต้นทาง

แม้นายกรัฐมนตรีเคยกล่าวในทวิตเตอร์ก่อนเลือกตั้ง ว่า “หลังคลอดห้าวันก็ทำงานได้แล้ว” ตนก็หวังว่าท่านจะไม่นำแนวคิดเช่นนี้มาใช้ในการบริหารประเทศและกำหนดนโยบาย เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ตอนนี้ข้าราชการหญิงสามารถลาคลอดบุตรได้ 98 วัน โดยได้รับค่าจ้าง และเมื่อครบ 98 วันแล้ว สามารถลาเพิ่มได้อีกไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ 50 ของเงินเดือน รวมวันลาคลอดทั้งสิ้น 188 วัน หรือประมาณ 6 เดือน ขณะที่พ่อลาเลี้ยงดูบุตรได้ 15 วัน

แต่หากไม่ใช่ข้าราชการ ก็ยังคงลาคลอดได้แค่ 3 เดือน และไม่มีลาเลี้ยงลูกของพ่อ ความเท่าเทียมทางกฎหมาย จึงควรเกิดขึ้นในกรณีนี้

นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เคยศึกษาว่าการลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ให้ผลตอบแทนแก่สังคมที่ดีที่สุดในระยะยาว และให้ผลตอบแทนในอนาคตสูงถึง 6.3 เท่าของงบประมาณที่รัฐลงทุน แต่ปัจจุบัน เงินอุดหนุนเด็กเล็ก 0-6 ปี อุดหนุนให้เพียงเดือนละ 600 บาท และให้เฉพาะเด็กที่เข้าเกณฑ์ความยากจนประมาณปีละ 2 ล้านคน

ทั้งที่เงินอุดหนุนเด็กควรจะเป็นตาข่ายรองรับไม่ให้เด็กร่วงหล่นยามพ่อแม่เผชิญวิกฤต แต่กระบวนการพิสูจน์ความจนเช่นนี้ กลับทำให้มีเด็กยากจนตกหล่นไม่ได้เงินอุดหนุนมากถึง 30% ซึ่งถือเป็น 1 ใน 3 ของกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับเงินอุดหนุน สวัสดิการที่จะต้องพิสูจน์ความจนในทุกรูปแบบ จะทำให้คนไทยมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ไปพร้อมๆ กันได้อย่างไร

มีพรรคร่วมรัฐบาลจำนวนมากที่สัญญาในช่วงหาเสียง เช่น พรรครวมไทยสร้างชาติ บอกว่าจะเลิกการให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได จาก 600 บาท ให้เป็น 1,000 บาทถ้วนหน้า หรือ พรรคพลังประชารัฐ เสนอการอุดหนุนเพิ่มแบบขั้นบันไดตามช่วงวัย ตั้งแต่ 3,000 – 5,000 บาท ต่อเดือน แม้แต่พรรคเพื่อไทย ในเอกสารนโยบายที่ต้องส่งให้ กกต. ท่านก็ยังเขียนว่าจะใช้งบประมาณกับสวัสดิการผู้สูงอายุถึง 3 แสนล้านบาท

แล้วในแถลงนโยบายฉบับนี้ เห็นนโยบายเหล่านี้บ้างหรือไม่ รัฐบาลเพื่อไทยสมัยคุณยิ่งลักษณ์ ในแถลงนโยบายไม่เพียงแต่ยืนยันเบี้ยผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า ยังกล้าจะให้สัญญาว่าจะเพิ่มเบี้ยสูงอายุ แล้วก็เพิ่มได้จริงๆ

แต่กลับกันรัฐบาลเพื่อไทยสมัยเศรษฐา ขนาดมีการแก้ไขระเบียบกระทรวงมหาดไทยที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะกระทบการให้เบี้ยผู้สูงอายุ จะทำให้คนตกหล่น แทนที่รัฐบาลจะช่วยให้ประชาชนหมดความกังวลด้วยการยืนยันสวัสดิการถ้วนหน้า ลงในคำแถลงนโยบาย แต่ท่านก็ไม่ทำ ไม่มีแม้กระทั่งความกล้าหาญและจริงใจจะยืนยันหลักการเดิมที่ตัวเองเคยยึดถือด้วยซ้ำ

สุดท้ายหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่ารัฐบาลจะไม่มองเห็นประชาชนเป็นเพียงเศษเสี้ยวฟันเฟืองหนึ่งของกลไกทางเศรษฐกิจเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และอนาคตของพวกเขา และตนวาดหวังที่จะเห็น สวัสดิการถ้วนหน้าที่เป็นธรรม ที่ประชาชนทุกคนเข้าถึง ไม่ตกหล่น และไม่ต้องพิสูจน์ความจน

หากรัฐบาลทำได้จริง เหมือนที่สัญญาหาเสียงไว้ ก็มั่นใจว่าเราจะได้รัฐสวัสดิการดีๆ เกิดขึ้นในประเทศแน่นอน

#ก้าวไกล #ประชุมสภา #แถลงนโยบาย #สวัสดิการ

เนื้อหาโดย: Wut15
อ้างอิง:พรรคก้าวไกล
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Wut15's profile


โพสท์โดย: Wut15
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: Inthira, ไทยเฉย
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท โอนซ้ำ 3 รอบ แจกรอบแรก ต.ค. นี้บ.ขายตรง ยกเลิกงาน BOOM ON TOUR
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ผู้เข้าประกวด Miss Grand 2024 ปลื้มไทยแลนด์ ดินแดนแห่งความอบอุ่นโยกหมดแล้ว! งัดเซฟ “แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์” 1 ชั่วโมง นาฬิกา 12 เรือน หายเกลี้ยงไทยโชว์เหนือ จัดงานมิสแกรนด์อินเตอร์ฯ เป๊ะปัง ในเวลาแค่วันเดียว หลังเจ้าภาพเดิมพังไม่เป็นท่ามิสแกรนด์กัมพูชาประกาศลั่น! จะไม่ให้เกิดการจัดประกวด MGI ในกัมพูชาอีก หลังดราม่าหนัก!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
อัพเดทเงินดิจิทัล 10,000 บาทล่าสุด! คนทั่วไปเฟส 2 ตรวจสอบสถานะได้แล้ววันนี้เกาหลีเหนือสั่งประหารโสเภณี ผู้นำรู้สึกสงสารสั่งอภัยโทษทันทีพายุเฮอริถล่ม เจ้าหน้าที่ฟลอริดาขอให้ทุกคน เขียนประวัติบนร่างกายพายุเฮอริเคนถล่มมะกัน นายกเทศมนตรีเตือน "ไม่อพยพ ตายแน่"
ตั้งกระทู้ใหม่