หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ก้าวไกล ถาม เพื่อไทย ว่าประชาชนจะจ่ายค่าไฟถูกลงกี่โมง ถ้ายังเอื้อนายทุน ‘เสือนอนกิน’ กันแบบนี้

โพสท์โดย bumptwo

⚡[ ประชาชนจะจ่ายค่าไฟถูกลงกี่โมง ถ้ายังเอื้อนายทุน ‘เสือนอนกิน’ กันแบบนี้

]⚡
.
📌การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 30 ส.ค. มีวาระรับทราบรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
📌สส.พรรคก้าวไกลได้อภิปรายหลายคน ประเด็นที่ถูกพูดถึงมากคือการแก้ไขปัญหาค่าไฟแพง ที่ยัง ‘แพงแล้ว แพงอยู่ แพงต่อ’ ประชาชนรับผลกระทบหนักในเวลานี้ �.�.
[ ของถูกให้ภาคธุรกิจ ของแพงให้ประชาชน ]
.�ศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อ อดีตเคยทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านตลาดพลังงาน ได้อภิปราย 4 ประเด็นสำคัญ �.
(1) การปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้าในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนต้องจ่ายแพงเกินไป : ไฟฟ้าที่เราใช้กันทุกวันนี้ ผลิตจากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติมากถึง 60% ราคาก๊าซธรรมชาติจึงเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ของไฟฟ้าในบ้านเรา แต่ต้นทุนราคาก๊าซที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า มาจาก Pool Gas ที่พึ่งพาการนำเข้าและมีราคาแพง ในขณะที่แหล่งก๊าซในประเทศที่มีราคาถูก ถูกนำไปเข้าโรงแยกก๊าซเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มปิโตรเคมีก่อน
.
😡สรุปง่ายๆ คือ ‘ของถูกให้ภาคธุรกิจ ของแพงให้ประชาชน’ 😡
.
ถึงอย่างนั้น สังคมกลับมามีความหวังเพราะได้เห็นหนังสือที่ทาง กกพ. ทำถึงรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานเมื่อ 28 เมษายนที่ผ่านมา เสนอให้มีการปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติใหม่ โดยให้นำราคาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศ มาเฉลี่ยรวมกับ Pool Gas ที่มีราคาแพง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าลดลงด้วย
.
🔥จึงอยากตั้งคำถามถึง กกพ. ว่าจากวันนั้นถึงวันนี้ ได้มีการติดตามผลของการทำหนังสือฉบับนี้หรือไม่ กระทรวงพลังงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการไปถึงไหนแล้ว เพราะประชาชนสงสัยว่า หรือเป็นเพราะกลุ่มปิโตรเคมีต้องจ่ายแพงขึ้น จึงเป็นตัวขัดขวางให้ข้อเสนอนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้🔥
.
(2) ความโปร่งใสของ กกพ. ในการปฏิบัติหน้าที่ : ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร 2540 มาตรา 9 (7) กำหนดให้มีการเผยแพร่มติของคณะกรรมการใดๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งสู่สาธารณะ การเปิดเผยมตินั้นสำคัญ เพราะช่วยให้เกิดความโปร่งใส ประชาชนตรวจสอบได้
.
เช่น การให้ใบอนุญาตโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนรอบที่ผ่านมามากกว่า 5,000 เมกะวัตต์ ระบุว่าจะให้ใบอนุญาตตามคะแนนเชิงเทคนิคเพียงอย่างเดียว แต่กฎเกณฑ์ วิธีการให้คะแนน กลับไม่ได้แจ้ง มีแต่การใช้ดุลพินิจ คำถามคือความโปร่งใสอยู่ที่ไหน?
.
ยังไม่รวมกระบวนการคัดเลือกที่ให้เวลาแค่เดือนเดียวในการยื่นเอกสาร ทำให้เกิดการตั้งคำถามกันว่า คนที่เตรียมเอกสารทันนั้น เพราะรู้กันอยู่แล้วหรือไม่ 🤔 หรือประเด็นราคารับซื้อไฟฟ้าที่เรียกว่า Feed-in tariff จากโรงไฟฟ้าพวกนี้ มีสูตรคำนวณอย่างไร 🧐 สูงเกินกว่าความเป็นจริงของราคาตลาดหรือไม่ เพราะคนที่แบกรับต้นทุนคือพี่น้องประชาชน
.
🔥จึงตั้งคำถามว่า ทำไมไม่เปิดเผยมติหรือเนื้อหากระบวนการต่างๆ ที่บัญญัติใน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและยุติธรรมต่อประชาชน ไม่อย่างนั้น กกพ. เองอาจกำลังละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ก็เป็นได้🔥
.
(3) การเจรจาแก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เพื่อปรับลดค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment) ของโรงไฟฟ้า : ปัจจุบันไทยมีโรงไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น มี 8 โรงที่ไม่ได้เดินเครื่องเลยในปี 2564 แต่เรายังต้องจ่ายเงินให้โรงไฟฟ้าเหล่านี้ผ่านค่าความพร้อมจ่ายที่ถูกระบุในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchasing Agreement: PPA)
.
แม้เข้าใจว่าการแก้ไขสัญญาระหว่างรัฐและเอกชนเป็นสิ่งที่ยาก แต่ในทุกสัญญาจะมีการระบุข้อกำหนดหนึ่ง คือเหตุสุดวิสัย (force majeure) หมายถึงการเกิดเหตุที่อยู่เหนือการควบคุมของคู่สัญญาและเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน เช่น การแพร่ระบาดของโควิด 19 ควรนำมาเป็นเหตุสุดวิสัยที่นำไปสู่การแก้ไขสัญญาลดค่าความพร้อมจ่ายได้
.
🔥จึงขอตั้งคำถามว่า กกพ. เคยมีความคิด หรือความพยายามเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาทบทวนหรือแก้ไขสัญญานี้หรือไม่🔥
.
(4) งบประมาณและความคุ้มค่าในการเดินทางดูงานต่างประเทศ : งบในกลุ่มนี้สูงมากกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ประเทศที่เดินทางไปล้วนมีความก้าวหน้าทางพลังงาน แต่ทำไมประเทศไทยยังไม่มีนโยบายหรือกระบวนการต่างๆ ที่ทันสมัยเหมือนประเทศอื่น เช่น ในขณะที่ประเทศอื่นใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการยื่นประมูลโรงไฟฟ้า แต่เรายังต้องยื่นซองกระดาษ
.
ศุภโชติทิ้งท้ายว่า หน่วยงานที่ควรกำกับกิจการพลังงานต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ กลับถูกสังคมตั้งคำถามว่าท่านกำลังถูก ‘กำกับ’ โดยกลุ่มทุนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่ใช่เพื่อประชาชนอยู่หรือไม่ หากเป็นเช่นนี้ แล้วประชาชนจะพึ่งใคร!?!
.�.
[ หยุดนายทุนเสือนอนกิน อู้ฟู่บนน้ำตาประชาชน ]
.
ต่อมา วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ ขยายประเด็นต่อว่า ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้เดินเครื่อง แต่รัฐต้องเอาเงินไปจ่ายค่าพร้อมจ่ายให้นายทุน โดยมีการประเมินกันว่า ค่าพร้อมจ่ายที่ต้องจ่ายให้นายทุน 80 สตางค์ต่อหน่วยนั้น ถ้าประเทศเราสำรองไฟแค่ 15% (ปัจจุบันสำรองถึง 50%) เหมือนประเทศอื่น ประชาชนจะจ่ายแค่ 24 สตางค์ต่อหน่วยเท่านั้น
.
พูดให้เห็นภาพ เช่น ค่าไฟของท่าน 1,000 บาท ถ้าไม่ต้องจ่ายค่าพร้อมจ่าย 80 สตางค์ ประชาชนจะจ่ายค่าไฟแค่ 880 บาท นั่นหมายความว่าทุกวันนี้ประชาชนถูกไถเดือนละ 120 บาท เข้ากระเป๋านายทุนเสือนอนกิน นี่หรือคือการกำกับกิจการพลังงานที่ว่าดีแล้ว เป็นธรรมแล้ว?
.
ปัญหาค่าไฟแพงยังเดือดร้อนถึงภาคอุตสาหกรรม เพราะค่าไฟคิดเป็น 10-30% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ในขณะที่ค่าไฟประเทศไทย 4.70 บาทต่อหน่วย แต่เวียดนาม 2.76 บาทต่อหน่วย แบบนี้ประเทศไทยจะมีขีดความสามารถในการแข่งขัน สู้ประเทศอื่นได้อย่างไร
.
นอกจากนั้น ที่ผ่านมาโครงการอะไรที่ประชาชนจะได้ประโยชน์ ก็ทำเหมือนไม่เต็มใจทำ เช่น การซื้อโซลาร์รูฟท็อปจากภาคเอกชนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะราคารับซื้อไม่เป็นธรรม ซื้อถูกมาก รัฐบาลชุดที่แล้วแถลงต่อรัฐสภาเมื่อ 25 กรกฎาคม 2562 ว่าจะส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าแบบหักลบหน่วยไฟฟ้าสุทธิ (Net Metering) แต่เอาเข้าจริงไม่ได้ทำเลย พอเอกชนจะซื้อขายไฟฟ้ากันเอง กกพ. ก็ไปคิดค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Wheeling Charge) แพงหูฉี่ 1.15 บาท ตั้งราคาแบบนี้เหมือนจะไม่ให้ทำมากกว่า
.
🔥จึงขอย้ำเตือน กกพ. ว่าหน้าที่สำคัญคือการปกป้องผลประโยชน์ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้พลังงานอย่างเป็นธรรม ถ้า กกพ. ไม่ตระหนักเรื่องนี้ สุดท้ายกลุ่มทุนผูกขาดหรือเครือข่ายอุปถัมภ์ของผู้มีอำนาจ ก็จะเข้ามาฮุบเอาพลังงานของประเทศไปกินรวบ รีดนาทาเร้นจากประชาชนตามใจชอบ ให้พวกมันร่ำรวยบนคราบน้ำตาของประชาชน🔥
.�.
[ เรียกร้อง กกพ. ยุติออกใบอนุญาตโรงไฟฟ้า ลวงตา-หลบกฎเกณฑ์ ]
.
จากนั้น เบญจา แสงจันทร์ สส.บัญชีรายชื่อ ยกข้อร้องเรียนจากประชาชน จ.ปราจีนบุรี ว่าขณะนี้มีความพยายามขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม จำนวน 3 โรง
.
ความน่าสนใจคือ (1) แต่ละโรงมีกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ เมื่อนำมารวมกันจะมีกำลังการผลิต 29.7 เมกะวัตต์ (2) ตั้งอยู่บนที่ดินที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกัน ทั้งหมดเกือบ 62 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคกบินทร์ ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
.
จึงขอถามไปยัง กกพ. ว่าโรงไฟฟ้าทั้ง 3 นี้ ยังถือเป็นโครงการผลิตและจําหน่ายไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม ‘ขนาดเล็กมาก’ ได้อยู่หรือไม่ เพราะถึงแม้แต่ละโรงมีขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ แต่เมื่อเดินเครื่องจักรพร้อมกัน กำลังการผลิตก็เกือบ 30 เมกะวัตต์ เช่นนี้จึงน่าตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทจงใจยื่นขออนุญาตเพื่อเลี่ยงการทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่ 🫤
.
และเนื่องจากการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก เข้ามามีส่วนในการผลิตไฟฟ้า แต่สำหรับกรณีนี้ โรงไฟฟ้าทั้ง 3 โรงมีผู้ถือหุ้นหลักเป็นบริษัทเดียวกัน คือบริษัท เก็ท กรีน พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยอยู่ก่อนแล้ว
.
นี่จึงถือเป็นการลวงตา หลบกฎเกณฑ์ เจตนาเลี่ยงการปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 - 2573 สําหรับขยะอุตสาหกรรม ที่มีใจความว่า “โครงการที่เสนอขายไฟฟ้าต้องเป็นโรงไฟฟ้าที่ลงทุนก่อสร้างใหม่ และไม่เคยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือไม่เคยได้รับการตอบรับซื้อจากการไฟฟ้าฝ่ายจําหน่าย และไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือการไฟฟ้าฝ่ายจําหน่ายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่”
.
ดังนั้น การที่ทั้ง 3 บริษัทได้รับอนุญาตจาก กกพ. ให้ก่อตั้งโรงไฟฟ้า จึงเป็นการดําเนินการที่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดระเบียบ ผิดกฎหมาย เป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบธรรมด้วยหรือไม่?
.
นอกจากนี้ ในเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประกอบการออกใบอนุญาตกิจการโรงไฟฟ้า ยังมีความผิดปกติหลายอย่าง แสดงถึงเจตนากีดกันประชาชนไม่ให้มีส่วนร่วม เช่น บริษัทเจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าฯ ทั้ง 3 โครงการ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในวันเวลาเดียวกัน จัดแค่ 1 ครั้งในวันจันทร์ซึ่งเป็นวันทำงาน ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบทั่วถึง แถมสถานที่ที่จัดห่างจากจุดตั้งโรงไฟฟ้ากว่า 10 กิโลเมตร ส่งผลให้จำนวนผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น มีน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญหรือไม่
.
เบญจาย้ำในช่วงท้ายว่า ทุกครั้งที่มีโครงการขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน โครงการเหล่านี้มักจะสร้างผลกำไรมหาศาลให้กับนายทุน แต่ไม่ได้สร้างความมั่นคงในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
.
🔥ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการมากที่สุด อาจไม่ใช่ผู้เซ็นอนุมัติ แต่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จึงขอให้ กกพ. พิจารณายุติการออกใบอนุญาตโรงงานไฟฟ้าทั้ง 3 โรงนี้ออกไปก่อน เพื่อพิจารณาให้รอบคอบ 🔥
.
#ก้าวไกล #ค่าไฟแพง #ประชุมสภา

โพสท์โดย: bumptwo
อ้างอิงจาก: fb พรรคก้าวไกล
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
bumptwo's profile


โพสท์โดย: bumptwo
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
'แหม่ม จินตหรา'ซัด'ว็อชด๊อก'หยุดบิดเบือนเรื่องช้าง!ช็อกอย่างแรง !! "มิน พีชญา" น้ำตาแทบหลั่ง แจง เป็นประชาสัมพันธ์หาใช่หุ้นส่วนแก้วว่ามันอร่อยดี!! กินพิซซ่าพร้อมชมวิวไปด้วย‘ประธานกรรมาธิการปปง.’ ฟันธง เหล่าดารา ‘ดิไอคอน’ เข้าข่ายมีความผิดด้วยส่องเงินเดือนพนักงาน CJ MORE แต่ละตำแหน่ง! ทำงานร้านสะดวกซื้อ ได้เงินเดือนเท่าไหร่กันนะ?"ณวัฒน์" กล่าวไว้ถูกใจชาวโซเชียล ท่ามกลางดราม่า "บอสกันต์ ดิไอคอนกรุ๊ป"ยอดเขาคิลิมันจาโร (Kilimanjaro) ยอดเขาที่สูงที่สุดในแอฟริกา
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
โลกการ์ตูนโศกเศร้า "โนบุโยะ โอยามะ" เสียง "โดราเอมอน" ในความทรงจำ ลาลับในวัย 90 ปี'แหม่ม จินตหรา'ซัด'ว็อชด๊อก'หยุดบิดเบือนเรื่องช้าง!ทะเลช่วยฮีลใจได้อย่างไร
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
คนพิการพลาดเงินดิจิทัล 10,000 บาท ต้องทำอย่างไร? เช็กวิธีรับสิทธิ์เงินดิจิทัลแบบละเอียดตำรวจเตรียมออกหมายจับ "บอสใหญ่" ดิ ไอคอน กรุ๊ป ภายใน 48 ชั่วโมง หลังพบความผิดเข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนสคบ. เตือน! 6 คุณสมบัติสำคัญที่ "บริษัทขายตรง" ต้องมี ป้องกันตกเป็นเหยื่อธุรกิจฉ้อโกงเมียหรั่ง" เข้าร่วมในฐานะพยานในคดี "แม่ตั๊ก" ปฏิเสธการเชื่อมโยงกับคดีทอง และหลีกเลี่ยงการตอบคำถามเกี่ยวกับครอบครัว พร้อมเผยเหตุผลที่พูดวลีเด็ดและคนที่ชอบดราม่า
ตั้งกระทู้ใหม่