เมื่อมองดังนี้ token ดังกล่าวจึงไม่สามารถมองได้ว่าเป็นเงินบาท เนื่องจากมีสภาพคล่องที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ มีข้อจำกัดการใช้งานที่ต่ำกว่าซึ่งจะส่งผลให้มีผู้พร้อมรับมันเพื่อแลกกับสินค้าและบริการน้อยกว่า บริษัทที่ไม่สามารถนำ token ดังกล่าวไปขึ้นเงินได้ จะต้องรับกับ counterparty risk ตลอดเวลาที่ถือ token อากาศธาตุนั้น จนอาจเป็นเหตุให้เกิดการปฏิเสธได้ หรืออย่างน้อยก็ทำให้การรักษาระดับราคาของ token ที่ peg กับเงินบาทด้วยลมปากนั้นทำได้ยากขึ้น แต่รัฐบาลอาจใช้กฎหมายบังคับให้รับเงินได้ อีกข้อที่น่าสนใจคือการกล่าวว่าการใช้จ่าย token ดังกล่าวเป็นทอด ๆ จะสร้างรายได้ให้กับรัฐกลับคืนผ่านภาษี แต่นั่นหมายความว่าผู้คนจะต้องสามารถนำเอา token เหล่านั้นมาจ่ายภาษีได้ด้วย แต่เนื่องจาก token ที่พรรคเสกขึ้นมาไม่ใช่ legal tender จึงไม่สามารถใช้ในการชำระภาษีได้ นอกจากมีการใช้อำนาจบิดเบือนการปฏิบัติหน้าที่ของกรมสรรพากร ให้หันมารับความเสี่ยงของการถือ token ลมเหล่านี้ นอกจากนั้น การผลิต token ขึ้นมาเพื่อ circulate ในระบบโดยกำหนดให้มีค่าเหมือนเงินบาท ยังจะผิดพรบ.เงินตราฉบับ 2501 อีกด้วย
ทางออกเดียวที่จะพอทำได้ตามกฎหมาย โดยมีสมมุติฐานว่าจะยังมีความเคารพต่อกฎหมายอยู่บ้าง คือการหันไปใช้ CBDC ของแบงก์ชาติ ที่ทำกันมาหลายปีและมีการทดลองใช้แล้ว ซึ่งระบบดังกล่าวจะสามารถตอบโจทย์ที่ต้องการได้ทั้งหมดไม่ยาก แต่จะต่างกันที่พรรคจะไม่มีสิทธิ์ในการเสก token อากาศธาตุขึ้นมากว่า 500,000 ล้าน token แล้วนำมาแลกเป็นเงินบาทได้
ทำให้ 10,000 บาทในระบบกระเป๋าดิจิทัลใหม่ที่กล่าวถึงนี้ ไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่า "คำโฆษณาเพื่อการหาเสียง" เลย เป็นการสัญญาว่าจะ airdrop token ที่เสกขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นการเรียกคะแนนเสียงเท่านั้น โดยไม่ได้มีเหตุผลอื่นใดที่สมเหตุสมผลของการมีตัวตนอยู่เลยแม้แต่น้อย
อย่างไรก็ตามถ้ามองเจตนาดีที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น และสามารถเก็บภาษีตามที่คาดการณ์ สามารถผ่านกฎข้อบังคับต่างๆ ไม่เพิ่มภาระหนี้ของประเทศขึ้นอีก คงจะดีไม่น้อย