หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ปิยบุตร กล่าวถึง การสมคบกันย้อนเวลาการเมืองไทยกลับไปทศวรรษที่ 2520/2540

โพสท์โดย bumptwo

[

]

Gramsci ได้เสนอความคิดเรื่อง Passive Revolution เอาไว้ ในปี 1932 โดยหยิบยืมคำคำนี้มาจากงานของ Vincenzo Cuoco ที่เรียกการปฏิวัติ Neapolitan Revolution ในปี 1820-1821 ว่า “Passive Revolution” นอกจากนี้ ในบางครั้ง เขายังใช้คำว่า “ปฏิวัติที่ปราศจากการปฏิวัติ” (Révolution sans révolution) โดยหยิบยืมมาจากสุนทรพจน์ของ Robespierre ในปี 1792 และคำว่า “Révolution Restoration” ที่หยิบยืมมาจาก Edgar Quinet ที่ใช้เรียกการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์หลังจากการล่มสลายของนโปเล-ยง โบนาปาร์ต

ในช่วงเวลาที่ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครองได้ทำสงครามทางความคิดเพื่อต่อสู้สถาปนาอำนาจนำใหม่ ชนชั้นปกครองตระหนักได้ว่าอำนาจนำและสถานะของตนกำลังถูกบ้่นทอนสั่นคลอน เพื่อรักษาอำนาจของตนไว้ต่อไป พวกเขาจึงต้องผนึกกำลังกันระหว่างกลุ่มต่างๆในชนชั้นปกครองด้วยกัน สกัดขัดขวางและทำลายพลังใหม่ของชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครองที่กำลังก่อรูปและพยายามยึดครองอำนาจรัฐ

ปฏิบัติการเช่นนี้ Gramsci เรียกว่า Passive Revolution

เป็นปฏิวัติจากเบื้องบน

เป็นปฏิวัติที่ริเริ่มดำเนินการโดยชนชั้นปกครอง

เป็นปฏิวัติที่ปราศจากมวลชน

เป็นปฏิวัติเพื่อรักษาสถานะและอำนาจของชนชั้นปกครอง

เป็นปฏิวัติเพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์อำนาจของชนชั้นปกครองให้ดำรงอยู่ต่อไป

โดยเขายกตัวอย่างกรณี Risorgimento ในปี 1848-1871 ที่เป็นการรวมชาติอิตาลี และกรณี Fordism ในสหรัฐอเมริกา

หากนำความคิด Passive Revolution มาประยุกต์ใช้กับบริบทการเมืองไทยร่วมสมัย ผมเห็นว่า มีกรณี Passive Revolution สำคัญอยู่ 2 ครั้ง

ครั้งแรก ทศวรรษ 2520

ครั้งที่สอง ทศวรรษ 2540

ทศวรรษ 2520 กลุ่มก้อนในชนชั้นปกครองเล็งเห็นร่วมกันว่า พลังใหม่ฝ่ายก้าวหน้ารุกคืบเข้ามามากขึ้น การใช้วิธีสู้รบสงครามกลางเมืองไม่น่าจะประสบความสำเร็จ พวกเขาจึงร่วมมือกันผนึกกำลังกันทำลายพลังฝ่ายก้าวหน้าที่มีตัวแสดงหลักคือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เริ่มจากการเจรจาความระหว่างประเทศ ให้จีนยุติการสนับสนุน พคท. จากนั้นก็เริ่มต้นเชิญชวนให้คนที่เข้าร่วมกับ พคท. ในเขตงานต่างๆ กลับคืนสู่เมือง และมีนโยบาย 66/23

หมุดหมายของ Passive Revolution รอบนี้ คือ รัฐธรรมนูญ 2521 ที่เปิดพื้นที่ทางการเมืองเพิ่มขึ้น ไม่ปกครองโดยเผด็จการทหารแบบเต็มรูป แต่จัดให้มีการเลือกตั้ง บรรดานักการเมือง บรรดาคนที่มีความคิดก้าวหน้า และล้าหลัง ต่างก็ถูกกวาดต้อนให้รวมกลุ่มลงสมัครรับเลือกตั้งและถูกล้อมกรอบพลังของตนให้เข้าไปอยู่ในสถาบันการเมืองแบบรัฐสภา ในขณะที่รัฐบาลก็อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกองทัพและระบบราชการ

เราจึงเห็นการเลือกตั้ง 2522 2526 และ 2529 ที่ผู้นำของพรรคการเมืองอันดับหนึ่ง ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ต้องไปเชิญนายพลมาเป็นนายกรัฐมนตรี เช่น พล.อ.เกรียงศักดิ์ และพล.อ.เปรม

ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 นักวิชาการหลายคนวิเคราะห์กันว่า นี่คือห้วงเวลาสถาปนาพระราชอำนาจนำของในหลวง รัชกาลที่ 9 กลุ่มก้อนและพลังอำนาจฝ่ายต่างๆที่เคยท้าทายสถาบันกษัตริย์อ่อนแรงหมดกำลังลง ทั้งกองทัพ ทั้งพรรคการเมือง ทั้งองค์กรภาคประชาชน ต่างก็สยบยอมอยู่ภายใต้พระราชอำนาจนำ

Passive Revolution รอบ 2540 แสดงออกผ่านรัฐธรรมนูญ 2540 ทำให้สังคมพร้อมใจกันเชื่อว่าเป็นฉันทามติของสังคมไทย วางโครงสร้างการเมืองการปกครองให้มีรัฐบาลเข้มแข็ง ไม่มีการแทรกแซงจากกองทัพ มีระบบตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาล และให้ประชาชนได้รู้สึกว่าได้รับประกันสิทธิเสรีภาพ

ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา ผมได้ปราศรัยที่สามย่านมิตรทาวน์ เรื่อง “Memory of the Future - ความทรงจำแห่งอนาคต” ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ มีความพยายามพาการเมืองไทยย้อนเวลากลับไปสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่ง ต้องการพาการเมืองไทยย้อนกลับไปทศวรรษที่ 2520 อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องการพาการเมืองไทยย้อนกลับไปทศวรรษที่ 2540

ผมขอคัดบางตอนมาเผยแพร่ซ้ำที่นี่ ดังนี้

“การเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ มีความพยายามจะนำพาสังคมไทยกลับไปหาอดีต ชวนเรากลับไปเห็นภาพวันชื่นคืนสุขในอดีต และชวนให้ประชาชนเชื่อว่าอดีตอันหอมหวลนั้นจะกลับมาได้อีกในอนาคต

ฝ่ายหนึ่ง พาเรากลับไปยังสังคมไทยยุค 2520

อีกฝ่ายหนึ่ง พาเรากลับไปยังสังคมไทยยุค 2540

ช่วงทศวรรษ 2520 การเมืองไทยถูกขนานนามว่าเป็นยุค “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” มีรัฐธรรมนูญ 2521 เป็นกลไก อนุญาตให้มีการเลือกตั้งได้ แต่เมื่อเลือกมาแล้วต้องให้ทหารเป็นนายกฯและให้กองทัพกับระบบราชการคุมร้ฐบาล

พรรคการเมืองทำหน้าที่รวบรวมไพร่พลส่งลงสมัคร ส.ส.

การเลือกตั้งชนะกันได้โดยมีปัจจัยหนุนเสริมสำคัญ นั่นก็คือ อิทธิพลกลไกรัฐในพื้นที่ และเงิน

เมื่อเลือกตั้งแล้ว แต่ละพรรคก็มารวมกันเป็นรัฐบาลผสม สนับสนุนให้ทหารนายพลเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีกลุ่มทุนขนาดใหญ่ให้การสนับสนุน

เมื่อเป็นรัฐบาลผสม แต่ละพรรคก็ต่อรองกดดันนายกรัฐมนตรี รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ นโยบายต่างๆดำเนินการโดยระบบราชการ/เทคโนแครต วิธีคิดทางเศรษฐกิจมุ่งเน้นไปที่กลุ่มทุนขนาดใหญ่และกลุ่มทุนธนาคาร ส่งส่วยให้กลุ่มทุนเหล่านี้ ปล่อยให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่เหล่านี้ผูกขาดและขูดรีดค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันนักการเมืองกับระบบราชการก็ร่วมมือกันทุจริตคอรัปชั่น เพื่อหาเงินทุนไปทำการเมืองต่อ

ช่วงทศวรรษ 2540 กระแสปฏิรูปการเมืองเบ่งบาน รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นความหวังของสังคมไทย มุ่งหมายให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ พร้อมกับมีระบบตรวจสอบรัฐบาล และประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน

พรรคไทยรักไทยถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 ได้รวบรวม ส.ส.จากพรรคอื่นๆเข้ามา มุ่งขายนโยบายที่ทันสมัย กระแสคนอยากเปลี่ยนรัฐบาลแบบเดิมๆ ทำให้พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งถล่มทลายในปี 2544 เมื่อเป็นรัฐบาลก็สามารถส่งมอบนโยบายที่ดีให้กับประชาชนได้

ต่อมา พรรคไทยรักไทยได้ควบรวมพรรคการเมืองอื่นๆเข้ามา และประกอบกับผลงานของรัฐบาล ทำให้การเลือกตั้งในปี 2548 ชนะอย่างถล่มทลายมากกว่าเดิม ก่อนที่จะเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และยังคงอยู่ในวิกฤตการณ์ทางการเมืองจนถึงปัจจุบัน

ปีนี้ 2566

สถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมเปลี่ยนไปมาก

ประชาชนคนส่วนใหญ่ เยาวชนคนรุ่นใหม่ มีความคิดที่ก้าวหน้าแหลมคมมากกว่าเดิม

การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 จะต้องไม่นำพาเรากลับไปอดีต ทั้งแบบทศวรรษ 2520 และทศวรรษ 2540

เราต้องไม่ปล่อยให้พวกเขา พาเรากลับไปทศวรรษที่ 20 ที่นโยบายเศรษฐกิจนำไปสู่การส่งส่วยให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ ปล่อยให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ขูดรีดค่าเช่าทางเศรษฐกิจ

เช่นเดียวกัน เราต้องไม่ยอมให้พวกเขาพาเรากลับไปทศวรรษที่ 40 ที่นโยบายเศรษฐกิจ คิดแต่เพียงกระตุ้นเศรษฐกิจ ขยายเค้กก้อนใหญ่ ให้ทุนได้เติบโต แล้วค่อยแบ่งปันให้คนเล็กคนน้อย ผ่านบางนโยบายที่ช่วยประชาชนฐานรากที่ทุกข์เข็ญ

แต่เราต้องมองไปสู่อนาคต สร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน ถ้วนหน้า ครบวงจร ยั่งยืน ให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนทุกคนมีชีวิตที่ดีตั้งแต่เกิดจนตาย ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคเท่าเทียม สนับสนุนทุนใหญ่ไปสู้ในตลาดโลก เปิดทางให้ทุนขนาดกลางและเล็กเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใน

เราต้องไม่ปล่อยให้พวกเขา พาเราย้อนกลับไปทศวรรษที่ 2520 ที่มีพรรคจำนวนมาห หรือ “สหพรรค” ที่ไม่มีการแบ่งอุดมการณ์ เฉดความคิด ขอแต่ตั้งพรรคมามากๆเพื่อรวงรวม ส.ส.ไปแบ่ง รมต.

เช่นเดียวกัน เราต้องไม่ยอมให้พวกเขาพาเรากลับไปทศวรรษที่ 2540 ที่มีพรรคขนาดใหญ่พรรคเดียวครอบงำ เอา ส.ส.ทุกคนรวมเข้ามา โดยไม่คิดถึงอุดมการณ์ ความคิด คิดแต่เพียงจำนวนให้มาก เพื่อเอาชนะเลือกตั้งเด็ดขาด เมื่อเกิดวิกฤตการเมือง เกิดรัฐประหาร ส.ส.ที่รวมเข้ามา ก็ย้ายข้างไปซบทหาร แล้ววันหนึ่ง ก็กลับมาใหม่ วนเวียนแบบนี้ซ้ำซาก

แต่เราต้องมองไปสู่อนาคต มีพรรคการเมืองของมวลชน ประชาชนร่วมกันเป็นเจ้าของ มีจุดยืนอุดมการณ์ชัดเจน ตรงไปตรงมา ไม่กั๊ก ไม่กลัว ไม่เกรง ไม่กังวล มั่นคงในจุดยืน คิดอย่างไร พูดอย่างนั้น พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น คัดเลือกผู้สมัครจากอุดมการณ์ความคิด มิใช่ ดูว่าใครมีโอกาสได้เป็น ส.ส. หรือมีทรัพยากร เงินทองให้พรรค

เราต้องไม่ปล่อยให้พวกเขาพาเราย้อนกลับไปทศวรรษที่ 2520 ที่นักการเมืองจากการเลือกตั้งพากันสวามิภักดิกับชนชั้นนำจารีตประเพณี ทุนผูกขาด และกองทัพ รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เพื่อให้ชนชั้นนำจารีตประเพณี คุ้มกะลาหัว และให้หลักประกันว่า บรรดานักการเมืองยังมีพื้นที่อำนาจการเมืองและเศรษฐกิจอยู่บ้าง

เช่นเดียวกัน เราต้องไม่ยอมให้พวกเขาพาเราย้อนกลับไปทศวรรษที่ 2540 ที่นักการเมืองมีเสียงข้างมากมหาศาล เพื่อใช้เจรจาต่อรองกับชนชั้นนำจาารีตประเพณี อาสาตนเป็นผู้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง โดยรับประกันว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจนไปกระทบกับชนชั้นนำจารีตประเพณี เพื่อให้แต่ละชนชั้นอยู่ในที่ทางของตนเองดังเดิม แช่แข็งอยู่ที่เดิมอย่างมีความสุข

แต่เราต้องมองไปสู่อนาคต เราต้องต่อสู้เพื่อประชาชนคนส่วนใหญ่ ประชาชนผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ประชาชน 99% เปลี่ยนโครงสร้างทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ปฏิรูปกองทัพ ลบล้างผลพวงรัฐประหาร เอาคนเข่นฆ่าประชาชนมาลงโทษ ปฏิรูประบบราชการ กระจายอำนาจ ทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เพื่อจัดวางสัมพันธภาพทางอำนาจกันใหม่ สร้างระบบสวัสดิการพื้นฐานถ้วนหน้าครบวงจร ปฏิรูปที่ดิน ปฏิวัติการศึกษา”

ผลการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม พรรคก้าวไกลได้ ส.ส.151 คน คะแนนเสียงรวมทั่วประเทศ 14.4 ล้านเสียง

ประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุดของประเทศ ไม่ยอมทนกับระบบที่เป็นอยู่ ปรารถนาการเปลี่ยนแปลง รวมพลังกันระเบิดออกมาอย่างพร้อมเพรียงในวันที่ 14 พฤษภาคม

การต่อสู้ตั้งแต่ปี 63-65

ผลการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566

ทำให้พวกเขาตระหนกตกใจและตระหนักใจว่า ปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินเช่นนี้ต่อไปมิได้ จำเป็นต้องสกัดขัดขวางทำลายพลังใหม่

“ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยไม่มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และไม่มีพรรคก้าวไกลเข้าร่วมรัฐบาล”

ถ้อยคำนี้ ปราฏในแถลงการณ์ของ 11 พรรค 314 เสียง นำโดยพรรคเพื่อไทย

นี่คือ ประจักษ์พยานและการประกาศทำ Passive Revolution

กลุ่มชนชั้นนำจารีตประเพณี ชนชั้นนำทางการเมือง ชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ ผนึกกำลังรวมหัวกัน ทำ Passive Revolution เพื่อรักษาสถานะและอำนาจนำของพวกตนต่อไป และสกัดขัดขวาง บั่นทอนบอนไซ ทำลาย การต่อต้านของพลังใหม่ที่กำลังเร่งทำ “สงครามทางความคิด” เพื่อสถาปนาอำนาจนำใหม่และยึดครองอำนาจรัฐ

Passive Revolution รอบนี้ จะสำเร็จเช่นรอบ 2520 2540 หรือ?

รอบ 2520 พคท.อ่อนกำลังลง

รอบ 2540 ทั้งกองทัพ พรรคการเมือง และภาคประชาชน สยบยอมอยู่ภายใต้พระราชอำนาจนำของในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่มีพลังการเมืองกลุ่มก้อนใดที่สามารถท้าทายพระราชอำนาจและสถาบันกษัตริย์ได้อีก ในขณะที่พรรคการเมืองต่างมุ่งเน้นเรื่องนโยบายเศรษฐกิจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้ารายประเด็น ไม่มีพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างทางอำนาจอย่างถึงราก เพราะต่างตกอยู่ในมายาคติ หลงเชื่อกันว่า “ปฏิรูปการเมือง” แบบรัฐธรรมนูญ 2540 คือ การจัดการเรื่องโครงสร้างอำนาจโดยสมบูรณ์แบบแล้ว

แต่รอบนี้ มีพลังแบบใหม่ขยายตัวก้าวรุดหน้าไปอย่างมาก ความคิดจิตใจของผู้คนเปลี่ยนไป และมีพรรคก้าวไกลที่เป็นตัวแทนของพลังใหม่

พวกเขารวมหัวหมุนเข็มนาฬิกาย้อนกลับไป 2520/2540

แยกพรรคเพื่อไทยออกไป เพื่อให้พลังของฝ่ายต่อต้านอ่อนกำลังลง

โดดเดี่ยวพรรคก้าวไกล

ตระเตรียมคมหอกคมดาบ นิติสงคราม พร้อมพุ่งเข้าใส่พรรคก้าวไกล

แต่เข็มนาฬิกาที่หมุนย้อนกลับไปนั้น ไม่สามารถทำได้เหมือนนั่งไทม์แมชีนย้อนเวลา

อย่างไรเสีย มันก็ไม่สามารถเปลี่ยนวันที่ ปีปฏิทิน

ไม่สามารถลบทำลายเหตุการณ์ตลอด 17 ปีนี้ที่ทำให้ประชาชนเปลี่ยนความคิดไปอย่างถึงราก

เข็มนาฬิกายังคงเดินหน้าบดขยี้ต่อไป

พวกเขาทำได้แต่เพียงกลับไปรวมกันตั้งรัฐบาล ลืมเรื่องราวต่างๆกันไปเพื่อแลกกับโอกาสเข้าไปแบ่งเศษเนื้อข้างเขียงและชามข้าว

พวกเขาอาจยึดครองอำนาจกลไกรัฐ อาจได้บริหารระบบราชการ อาจได้ใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน อาจได้โอกาสแสวงหาสัมปทานอำนาจรัฐ แสวงหาเงินทอน เพื่อนำมาต่อยอดทำทุนทางการเมือง

แต่พวกเขาไม่มีวันได้ครองความคิดจิตใจของพลังใหม่

ณ เวลานี้…

ภารกิจทางประวัติศาสตร์หน้าใหม่เริ่มต้นแล้ว

พลังใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยอย่างถึงราก

พลังใหม่ที่ไม่อยากทนกับระบบที่เป็นอยู่

ต้องร่วมมือร่วมใจกันสกัดขัดขวางมิให้ Passive Revolution ของพวกเขาสำเร็จ

โพสท์โดย: bumptwo
อ้างอิงจาก: fb Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
bumptwo's profile


โพสท์โดย: bumptwo
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ชื่นชม!พลเมืองดี ช่วยเจ้าตูบติดท่อระบายน้ำ ฝนตกหนักน้ำขึ้นหวิดจมอเมริกาเศรษฐกิจไม่ดี 7-11 ปิดไปแล้วเกือบ 450 แห่งอ้าง'ให้เงินหมื่น'ควาญที่มาช่วยช้าง'เล็ก'!ควาญบอกไม่ได้เงินและไม่ได้ต้องการ!ทำด้วยใจ!คนพิการลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท รับเงินวันที่ 22 ต.ค. นี้ จริงเหรอ?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2568 ได้เงินสูงสุด 1545 บาท คนมีสิทธิลงทะเบียนนิการากัวตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลแล้วชื่นชม!พลเมืองดี ช่วยเจ้าตูบติดท่อระบายน้ำ ฝนตกหนักน้ำขึ้นหวิดจมดราม่าหนัก ชาวกัมพูชาวิจารณ์เดือด หลังถูกยกเลิกเป็นเจ้าภาพ Miss Grand International 2024
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
ลักษณะของไทป์ ISTJ .กันต์ รอดหมายจับ? ทนายมั่นใจ! "ตั้ม" ซัดเดือด "ผู้ต้องหาผู้ยิ่งใหญ่" สังคมตั้งคำถาม "เส้นใหญ่" จริงหรือ?เที่ยวคนละครึ่ง คัมแบ็ค! ลุ้นรับ 2,000 บาท เที่ยวไทย กระตุ้นเศรษฐกิจปลายปีกบ พิมลรัตน์' ประกาศขายชุดแต่งงานเพื่อนำเงินมอบให้มูลนิธิ
ตั้งกระทู้ใหม่