สส.สุพรรณแนะนำทางรอดชาวนาในการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตที่ดีกว่าเดิม พร้อมลดต้นทุนเพิ่มรายได้มากขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าตอนนี้ประเทศไทยเรากำลังได้รับผลกระทบของสภาวะเอลนีโญซึ่งคาดการณ์ว่าอาจมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นยาวไปถึงปีหน้ากันเลยทีเดียว โดยเรื่องนี้จากผู้เชียวชาญทางด้านทรัพยากรน้ำได้แห่งชาติได้ออกมาให้ข้อมูลว่าสถานการณ์น้ำในปี266-2567 จะคล้ายกับสถานการณ์น้ำเมื่อปี2562 ที่เกิดสภาวะเอลนีโญต่อเนื่องจนถึงปี2563 มาแล้วนั้น และในเมื่อสถาการณ์เป็นเช่นนี้ก็อาจจะมีผลกระทบกับผู้ที่ต้องใช้น้ำเป็นหลักในการดำรงชีพเช่น ชาวบ้านในพื้นที่ต่างจังหวัดต่างๆ รวมถึงชาวสวน ชาวไร่ และที่สำคัญเลยที่น่าเป็นห่วงอยากมากคือ ชาวนาที่ต้องปลูกข้าวถือเป็นกระดูกสันหลังของประเทศไทยอีกด้วย
สำหรับเรื่องนี้ได้มีทางด้านนายนพดล มาตรศรี สส. สุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนาได้ออกมาให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับพี่น้องชาวนาถึงวิธีหาทางรอดสู้ภัยแล้ง จากสถานการณ์เอลนีโญ ครั้งนี้ถึงวิธีการปลูกข้าวแบบเกษตรกรรุ่นใหม่ด้วยวิธีการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแล้งไว้ว่า สำหรับการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง คือการควบคุมระดับน้ำในแปลงนา ให้มีช่วงน้ำขัง สลับกับช่วงน้ำแห้ง สลับกันไป ในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยใช้ปริมาณน้ำในการเพาะปลูกน้อยกว่าวิธีปลูกข้าวแบบทั่วไปถึง 50% โดยวิธีการทำขึ้นตอนรวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้มีโดยมี 5 ข้อสำคัญๆดังต่อไปนี้
1️.ติดตั้งตั้งท่อดูน้ำ โดยใช้ท่อ PVC ความสูง 25 เซนติเมตร เจาะรูรอบๆท่อ เพื่อให้น้ำไหลผ่านได้
2.ปักท่อลงในแปลงนา ให้จมดิน 20 ซม.และปากท่อเหนือผิวดิน 5 ซม. (ตามแบบตัวอย่างในรูป)
3.ช่วงเดือนแรก ขังน้ำ โดยสูบน้ำเข้าแปลงนาให้สูงจากผิวดินประมาณ 5 ซม. ท่วมปากท่อ
4.หลังครบเดือน แกล้งข้าว ด้วยการลดน้ำ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระยะข้าวแตกกอ ครั้งที่ 2 ระยะแต่งตัวถึงออกดอก
5.ช่วงปล่อยน้ำแห้ง ให้สังเกตระดับน้ำในท่อ ปล่อยให้น้ำแห้งจนต่ำกว่าผิวดิน 15 ซม. แล้วจึงสูบน้ำเข้าไปแปลง (เสมอปากท่อ) สลับกันไป
โดยภายหลังจากการลดน้ำในนา 2 ครั้ง แบบนี้ จะช่วยกระตุ้นให้รากและลำต้นแข็งแรงขึ้น ดินและรากได้รับอากาศ เมื่อได้รับอากาศ ก็สามารถดูดซึมสารอาหารจากปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยอีกด้วย และเมื่อรากดูดสารอาหารได้ดีขึ้น ต้นข้าวแข็งแรง ลดการระบาดของโรคและแมลง ก็จะลดการใช้สารเคมี เป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิต และเมื่อต้นข้าวแข็งแรงก็จะแตกกอได้มากขึ้น รวงข้าวสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้รับก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย ได้ประโยชน์หลายต่อ ทั้งลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้น้ำน้อยกว่าเดิมถึงครึ่งหนึ่ง เหมาะกับสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงอีกด้วย จึงอยากจะแนะนำให้ชาวนาทุกท่านได้ลองศึกษาข้อมูลและทำตามที่ให้ข้อมูลไว้ เพื่อที่จะได้ผลลัพธ์ ที่ดีตามมาอีกด้วย