วิกฤตข้าวไทย ที่ยังไม่สายเกินแก้
ช่วงนี้มีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตทางการเกษตร เป็นประเด็นและเป็นปัญหาคลาสสิกในสังคมไทย โดยผลผลิตที่มีประเด็นมากที่สุดคือ "ข้าว"
ข้าวจัดเป็นอาหารหลักของคนทั่วโลก พื้นที่ทางการเกษตรส่วนใหญ่ของโลกตั้งแต่อดีต นิยมปลูกข้าว ข้าวในแต่ละเขตแต่ละพื้นที่ ก็มีพันธุ์ข้าวตามเฉพาะพื้นถิ่น เช่นในบาสมาติ ในอินเดีย ข้าวสาลีในยูเครน
เมื่อมีปัญหาทางการเกษตร เช่น ปัญหาสงครามในรัฐเซีย - ยูเครน ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรอย่างข้าว ปรับตัวสูงขึ้นในภาคพื้นทวีปยุโรป เนื่องด้วยอาหารหลักของ ชาวยุโรปคือขนมปัง และการขาดแคลนขนมปังที่เป็นอาหารหลักก็นำมาสู่หายนะและการล่มสลายของรัฐชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อย่างเช่นการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789
กลับมาที่เมืองไทย ที่เป็นประเทศที่ในอดีตมีการส่งออกข้าว จนติดอันดับ 1 ของโลก เนื่องด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ดำเนินแผนพัฒนาเศรษฐกิจไปในทิศทางคู่ขนาน ระหว่างอุตสาหกรรมการผลิต กับการเกษตร แต่ขาดความสมดุลของ การกระจายรายได้ในฐานะระหว่าง ชาวนา พ่อค้าคนกลาง โรงสี ที่ทำให้ชาวนาเป็นผู้แบกรับความเสี่ยง ทุน ที่ดิน และแรงงาน และสภาพอากาศทำให้ชาวนา รู้สึกท้อถอยในการทำนา
ชาวนาส่วนใหญ่จึงละทิ้งอาชีพเกษตรกรรมที่ทำอยู่หาอาชีพอื่นที่มีต้นทุน ผลผลิตที่ได้กำไรมากกว่า ส่งผลให้พื้นที่นา ในประเทศหายไปหลายสิบเปอร์เซ็น
ปัญหาตกอันดับ อาจเป็นปัญหาในเชิงศักดิ์ศรี แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่า คือ ปัญหาที่ความมั่นคงทางอาหารที่เป็นปัญหาระดับชาติ
เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา การส่งออกข้าวชลอตัว อันเนื่องมาจากธุรกิจท่องเที่ยวซบเซา ร้านอาหารไม่สามารถเปิดได้ แต่เมื่อสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ การส่งออกข้าวขยายตัว พ่อค้าคนกลางผู้ประกอบการกลับมีรายได้เพิ่มขึ้นสวนทางกับรายได้ชาวนา ที่รายได้ส่วนหนึ่งต้องพึ่งการประกันราคาที่เป็นนโยบายจากรัฐบาลที่รัฐต้องแบกรับความเสี่ยงจากกลไกการตลาดในตลาดข้าวแทนชาวนา
ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจว่า พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นพรรคที่พูดถึงประเด็นเรื่องข้าว และนโยบายแจกพันธุ์ข้าวให้กับชาวนา มากที่สุดในเวลานี้
ปัจจัยการผลิตข้าว คือ เมล็ดพันธุ์ข้าวซึ่งในส่วนพรรคชาติไทยพัฒนาได้ดำเนินนโยบายแจกพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกร 60 ล้านไร่ทั่วประเทศ นับว่า เป็นการเพิ่มความมั่นคงของความมั่นคงทางอาหารจากในหลายๆรัฐบาลที่แบกรับความเสี่ยงหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้ที่ผ่านมาชาวนาก็ยังได้ผลกำไรไม่ดีเท่าที่ควรแต่การแจกพันธุ์ข้าว นับว่าเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่น่าสนใจและช่วยลดต้นทุนการผลิตในขั้นต้นของชาวนาด้วย
ตอนนี้แม้ศักดิ์ศรีเรื่องข้าวเราจะตก แต่เราอย่าให้สถานะ ของประเทศเราอยู่ในสถานะผู้นำเข้าข้าว เพราะชาวนาทิ้งนาเพราะราคาข้าวเลยครับ