Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageราคาทองคำ
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน ราคาทองคำ กินอะไรดี
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

หลักเขตแดนไทย-กัมพูชา ของที่ระลึกจากสงครามในอดีต

โพสท์โดย อ้ายเติ่ง

*หลักเขตแดนที่ ๕๐ กรุงสยาม – กัมพูชา
- ขนาดกว้าง ๔๐ เซนติเมตร หนา ๔๐ เซนติเมตร สูง ๑๒๓ เซนติเมตร

- หลักเขตแดนกรุงสยาม – กัมพูชา กั้นชายแดนระหว่างกรุงสยาม และกัมพูชาฝรั่งเศส โดยการดำเนินการปักปันเขตแดน ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๑ – ๒๔๕๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นหลักปูนซีเมนต์สี่เหลี่ยม ปลายตัดแหลม มีข้อความ ๔ ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย เขมร อังกฤษ และฝรั่งเศส ปรากฏอยู่ทั้ง ๔ ด้าน มีจำนวน ๗๓ หลัก

เริ่มต้นหลักที่ ๑ ที่ บริเวณช่องเกล หรือช่องสะงำ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีษะเกษ ไปทางทิศตะวันตกตามแนวเทือกเขาบรรทัดลงไปทางทิศใต้จนกระทั่งสิ้นสุดลงที่หลักที่ ๗๓ บริเวณพื้นที่รอยต่อระหว่างบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด กับบ้านจามเยียม จังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา ปัจจุบันหลักเขตเหล่านี้มีอายุ ๑๑๓ ปี นับจากปีที่เริ่มการปักปันเขตแดน

- ในที่สุดฝ่ายไทยมีท่าทีว่าจะชนะเด็ดขาด ญี่ปุ่นซึ่งมีฐานทัพอยู่ในอินโดจีนเสนอตัวเข้าไกล่เกลี่ยด้วยเกรงว่าหากไทยชนะจะเป็นอุปสรรคต่อการที่ญี่ปุ่นจะรุกรานลงใต้ ผลจากการไกล่เกลี่ย ฝรั่งเศสยินยอมยกดินแดนที่เคยยึดไปจากไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ คืนให้ฝ่ายไทย โดยมีการลงนามในอนุสัญญา ๓ ฝ่ายระหว่างไทย ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ หลักเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อรัญประเทศจึงถูกยกเลิกหลักเขตหมายเลข ๔๙ และ ๕๐ ถูกถอนออก
- จากการรบในสงครามอินโดจีนครั้งนั้นทำให้ไทยสูญเสียกำลังพลทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน จำนวน ๕๙ คน ต่อมาภายหลังรัฐบาลไทยจึงสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเชิดชูเกียรติ เทิดทูนวีรกรรมของผู้สละชีวิตในการปกป้องประเทศ


- สำหรับหลักเขตหมายเลข ๔๙ ได้มอบไว้แก่กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ ส่วนหลักเขตหมายเลข ๕๐ พลเอกมังกร พรหมโยธี ได้รักษาไว้และตกทอดสู่ทายาท ซึ่งภายหลังทายาทพลเอกมังกร พรหมโยธี ได้แก่ คุณเจตกำจร พรหมโยธี คุณกำจรเดช พรหมโยธี คุณอภิภู พรหมโยธี และคุณองคฤทธิ์ พรหมโยธี ได้มอบไว้ให้กรมศิลปากรเพื่อดูแลรักษา และเป็นสาธารณประโยชน์ในเผยแพร่ประวัติศาสตร์ชาติไทยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

หลักเขตที่ ๕๐ ทหารเมืองปราจีนบุรีไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

- หลังจากถ่ายภาพเสร็จพล.อ.มังกร พรหมโยธี ซึ่งเป็นผบ.นำทัพบุกยึดเมืองเขมรเห็นว่าหลักเขตนี้เหมาะที่จะเอามาเป็นที่ระลึกจึงขุดใส่รถยนต์เอาไปไว้ที่บ้านส่วนตัวในกรุงเทพฯ


ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๔ บุตรชายของพล.อ.มังกร พรหมโยธี ได้แจ้งให้กรมศิลปากรทราบ และทางกรมศิลปากรได้ไปขุดเอามาตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครข้างสนามหลวง

- สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรับมอบจากจาก ทายาทของ พลเอกมังกร พรหมโยธี เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๙ ต่อมาได้ส่งมอบให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ และบัดนี้ก็ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังปราจีนบุรี

📷 อ้างอิงภาพและบทความโดย Viroj Tuntikula และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี : Prachinburi National Museum

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
อ้ายเติ่ง's profile


โพสท์โดย: อ้ายเติ่ง
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
15 VOTES (5/5 จาก 3 คน)
VOTED: Lady Gagun, Thorsten, อ้ายเติ่ง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ลองทำพิซซ่าทานเองง่ายๆ ด้วยใจชอบอำเภอในประเทศไทย ที่มีตำบลน้อยที่สุดเพียง 1 ตำบลเมื่อพัดลมในโรงพยาบาลเสีย คนไข้คือผู้ช่วยที่ดี ปลุกความเป็นช่างในตัวคุณ3 จังหวัดในประเทศไทย ที่ไม่มีพื้นที่ป่าไม้หลงเหลืออยู่เลยเค้กคือที่สุด ของอร่อยวัยเด็กฝุ่นในตุ๊กตา ของเล่นแสนรักที่อาจกลายเป็นภัยเงียบในบ้าน'ภิกษุณี' สตรีที่ผ่านการอุปสมบทอย่างสมบูรณ์ในพระพุทธศาสนา
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
3 จังหวัดในประเทศไทย ที่ไม่มีพื้นที่ป่าไม้หลงเหลืออยู่เลยฝุ่นในตุ๊กตา ของเล่นแสนรักที่อาจกลายเป็นภัยเงียบในบ้านเค้กคือที่สุด ของอร่อยวัยเด็ก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
🔥 จีนร้อนทะลุ 40°C! นักศึกษามหาวิทยาลัยหยานไถเป็นลม – หอพักไร้แอร์ หลบร้อนในซูเปอร์ฯทำเนียบขาวจัด UFC! ทรัมป์ขยับเวทีหมัดดุ สู้กันกลางสนามหญ้า ใครแพ้เก็บขยะรอบทำเนียบ?ชาวกัมพูชาแห่กันขึ้นมาถ่ายภาพคู่กับปราสาทตาเมืองธมแบบไม่ขาดสายน้ำท่วมสหรัฐฉับพลัน ดับ 24 ราย เด็กจากค่ายฤดูร้อนสูญหายหลายสิบ
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน LinePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageราคาทองคำ
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง