คลองท่าว่า การปศุสัตว์ที่ควบคู่กับการอนุรักษ์
ในปัจจุบันความต้องการในการบริโภคเนื้อสุกรถือว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับเมื่อร้อยกว่าปีก่อน อันเนื่องมาจากวัฒนธรรมการกิน และเมนูอาหารเลิศรส ส่งผลให้เกิดการทำฟาร์มปศุสัตว์สุกรหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า โรงเลี้ยงหมู
ซึ่งผลกระทบของโรงเลี้ยงหมูเนื่องจากหมูมีปริมาณการบริโภคต่อตัวสูงมาก และมีของเสียคือ มูลสุกรที่ส่งกลิ่นคละคลุ้งไปทั่วบริเวณโดยรอบหลายกิโลเมตร และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคือก๊าซมีเทนจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่หลายพื้นที่เดือดร้อน และเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับการก่อเกิด ความรำคาญด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมของชาวบ้านในพื้นที่หลายพื้นที่
โดยส่วนใหญ่แล้ว โรงเรียนหมูจะพบได้ทั่วไปในทั่วประเทศหรือแทบทุกจังหวัดในประเทศเนื่องจากการบริโภคเนื้อหมูและความต้องการของตลาดจำนวนมาก
แต่ปัญหาเรื่องกลิ่นถือเป็นปัญหาหลัก แต่ปัญหาเรื่องที่หนักกว่าที่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอีกอย่างหนึ่งคือ ปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสียจากโรงเลี้ยงสุกรที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ที่ส่งผลกระทบไม่แพ้มลภาวะทางด้านอากาศเลย
วันนี้เราจะพาไปดู คลองท่าว้า โมเดล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยพบประสบปัญหามลภาวะดังกล่าวจนทำให้ระบบนิเวศต่างๆเสื่อมเสียจนในปัจจุบันมีการพัฒนาและอนุรักษ์ ที่ทำให้ฟาร์มหมู กับแหล่งน้ำสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเกิดจากการร่วมมือกันของภาครัฐโดย
ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับ เกษตรกรโรงเลี้ยงหมูในพื้นที่ ในการจัดการและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดังกล่าว
ส่งผลให้เกิดการบูรณาการในพื้นที่ ในการแก้ไขปัญหาโดยมีการศึกษาและค้นคว้าอย่างละเอียด สำหรับมูลสุกรจนตกผลึกได้ว่า มูลสุกรที่แต่เดิมได้ปล่อยลงน้ำนั้นปัจจุบันมีพ่อค้ารับซื้อมูลสุกรไปทำปุ๋ยคอก โดยในมูลสุกร เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากการกินอาหารหรือที่เราเรียกกันว่าปุ๋ยคอกนั่นเอง แล้วจำพวกเศษอาหารเหล่านั้นได้ผ่านกระบวนการย่อยสลายไปบางส่วนแล้วในทางเดินอาหาร จึงเหลือเป็นกากอาหารที่สุกร ได้ขับถ่ายออกมา ซึ่งกากอาหารที่ออกมานั้นอุดมไปด้วยธาตุอาหารชนิดต่าง ๆ รวมทั้งสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำได้หลายชนิด ซึ่งเมื่อรวมกันเข้าก็จะมีองค์ประกอบที่สามารถใช้เป็นธาตุอาหารที่สมบูรณ์ของพืช มีธาตุอาหารชนิดใดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่สัตว์ชนิดนั้น ๆ กินเข้าไปเป็นปัจจัยสำคัญ โดยส่วนใหญ่ปุ๋ยมูลสุกร มีปริมาณของธาตุไนโตรเจน (N) ปริมาณ 2.69% ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส (P) ปริมาณ 3.42% และมีปริมาณธาตุโพแทสเซียม (K) ปริมาณ 1.12% ซึ่งธาตุไนโตรเจน (N) เป็นธาตุที่ทำหน้าที่บำรุงใบ ลำต้น ยอดอ่อน โดยจะเป็นการช่วยทำให้เกิดการสังเคราะห์แสงที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น ธาตุฟอสฟอรัส (P) เป็นธาตุที่ทำหน้าที่บำรุง ส่วนของดอก ผล เมล็ด ตั้งแต่ สีสันของผลและดอก ช่วยให้ผลสุกหอม หวาน และส่วนธาตุโพแทสเซียม (K) เป็นธาตุที่ช่วยบำรุงระบบราก หัว ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
และที่สำคัญสำหรับแหล่งพลังงานทางเลือก โดยมูลสุกรเองก็มีปริมาณของก๊าซมีเทนที่สามารถนำมาทำก๊าซชีวมวลมาใช้ในการทำก๊าซหุงต้มในครัวเรือนอีกด้วย นับว่า ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว ที่บอกว่าหลายตัว เพราะน้องจากลดปริมาณมลพิษในระบบนิเวศแล้ว คลองท่าว้ากลับมาใสสะอาด อีกทั้งยังส่งผลถึงให้สิ่งมีชีวิตที่ละเอียดอ่อนในระบบนิเวศอย่างเช่นหิ่งห้อย มาส่องแสงระยิบระยับในพื้นที่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะมาดูหิ่งห้อยแมลงหายากในพื้นที่อุดมสมบูรณ์อีกด้วย
นับว่าเป็นก้าวแรกของความสำเร็จ ที่ดร.อุดม โปร่งฟ้า ร่วมผลักดันกับชาวบ้านในพื้นที่ และสิ่งสำคัญคือการได้น้ำคลองดีๆ ระบบนิเวศดีๆกลับมา ส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจใหม่หลายอย่างในพื้นที่ แล้วในพื้นที่ของท่านหละมีปัญหาอะไรหรือไม่ที่สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้เหมือน ท่าว้า โมเดล