ปริมาณน้ำฝนที่เป็นเรื่องวุ่นๆ กับเรื่องกลุ้มๆของที่ราบลุ่มภาคกลาง
ช่วงนี้หลายท่านอาจ วิตกกังวล กับสภาพอากาศและน้ำท่วมในหลายพื้นที่เพราะเป็นหน้าน้ำหลากก่อนที่จะเข้าหน้าแล้งในหลายพื้นที่ของประเทศ และแน่นอนบริเวณที่น้ำท่วมขังในหลายๆปีที่ผ่านมาคือ บริเวณ ภาคกลาง อย่างเช่น สิงห์บุรี อยุธยา อ่างทอง และจังหวัดสุพรรณบุรี
หารู้ไม่ว่า การขยายตัวของจำนวนประชากรรวมถึงการทำการเกษตรบางส่วนส่งผลต่อการผันน้ำและการระบายน้ำในหลายพื้นที่ หลายคนคิดว่าอาจเป็นเรื่องที่น่ากลุ้มใจ แต่ถ้ามีการบริหารจัดการน้ำที่ดีเหมือนอย่างประเทศเนเธอร์แลนด์ที่นอกจากจะเป็นประเทศที่มีความท้าทายในเรื่องสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ประเทศอยู่ต่ำกว่าน้ำทะเลแล้ว เขาสามารถ สร้างพื้นที่เพาะปลูกจากการจัดการน้ำและการผันน้ำได้อีกด้วย
เพราะที่ผ่านมาหลายวันนี้มีการพยากรณ์เรื่องปริมาณน้ำฝนเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
และแน่นอนว่าปรากฏภาคกลางเองหลายจังหวัดก็ต้องเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยที่ซ้อนภัยอุทกภัยเดิมอีก และหนึ่งในนั้นก็มีอำเภอบางปลาม้าจังหวัด สุพรรณบุรีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมดังกล่าว ทำให้ด้านนาย ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ที่รับผิดชอบในฐานะ ส.ส.ในพื้นที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ปีที่แล้วคือ พ.ศ. 2565 ที่เกิดเหตุอุทกภัยขึ้นได้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดนับว่าทำงานหนักมากกับพื้นที่ที่ต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วมอย่างยาวนาน
แต่น่าเสียดายที่ว่าการแก้ไขปัญหาจัดการน้ำมักจะมองเป็นเรื่องการเมืองที่มีเรื่องของผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องและองค์กรไม่กี่องค์กรที่ได้งบประมาณตรงนี้ ท้องถิ่นหรือแม้แต่ ส.ส. ในพื้นที่เองยังไม่ได้งบดังกล่าวและแทบไม่มีอำนาจเลย อีกทั้งจังหวัดสุพรรณบุรีถูกมองจากคนนอกพื้นที่ว่าเป็นเพียงแค่จังหวัดทุ่งรับน้ำ ไม่ใช่จังหวัดหัวเรือใหญ่ทางเศรษฐกิจ
ก็ถือว่าน่าเห็นใจทั้ง พรรคที่เป็นเพียงพรรคร่วมแต่นโยบายต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมในระยะยาวถูกละเลยไป
ทีนี้ปัญหาโลกร้อนก็เป็นปัญหาหลัก ที่หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญ แต่ในส่วนสำคัญกว่า คือการบริหารจัดการน้ำในภาพใหญ่จะต้องเข้มแข็งเพราะเรามีบทเรียนตั้งแต่ปี 2554 หรือ 12 ปีที่ผ่านมา แต่ในปีที่แล้ว ก็เกิดเหตุการณ์ซ้ำ รวมถึงเมืองหลวงอย่างเช่นกรุงเทพมหานครที่มีการเรียกร้องให้จัดการระบบระบายน้ำที่ล้าสมัยและไม่ได้คุณภาพอีกด้วย
แต่ก็น่าติดตามต่อนะครับว่าการบริหารจัดการน้ำในปัจจุบันนี้ ที่ใช้งบ 77,268 ล้านบาทจะสามารถแก้ปัญหาที่ยั่งยืนกับปัญหาคลาสสิกอย่างปัญหาน้ำท่วม ที่จังหวัดในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางที่ส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบเสียส่วนมากได้หรือไม่มากน้อยเพียงใด