เพิ่งรู้นะนี่!! ว่า "เจ้าแม่กวนอิม" เป็นผู้ชาย
เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้หญิงหรือเป็นผู้ชาย!?
มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ว่า
"เกิดมา 30 ปี เพิ่งจะรู้ว่า เจ้าแม่กวนอิม เป็นผู้ชาย"
ทำเอาชาวโซเชียลเข้ามาถกกันอย่างถึงพริกถึงขิง
ตำนานของเจ้าแม่กวนอิมมีหลายตำนานด้วยกัน
บางคนบอกว่า พระโพธิสัตว์กวนอิมนั้นเป็นเพศชายเหมือนในอินเดีย มีหลักฐาน คือรูปวาดจิตรกรรมฝาผนัง และรูปปฏิมากรรมแกะสลักพระโพธิสัตว์กวนอิมที่ปรากฏอยู่ในถ้ำม่อเกา ที่มีลักษณะเป็นเพศชาย
บางคนบอกว่า ชาวจีนที่นับถือเจ้าแม่กวนอิมเป็นเทพเจ้าตามความเชื่อในนิกายมหายาน สมัยราชวงศ์ฮั่น และซ่ง สร้างรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมตามแบบอินเดีย ไม่มีเพศ
ต่อมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน พบหลักฐานการสร้างรูปปั้นพระโพธิสัตว์เป็นสตรีเพื่อความอ่อนโยน แสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกับที่มารดาแสดงต่อบุตร
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในรูปแบบเพศหญิง เป็นที่เคารพยอมรับของชาวจีนอย่างกว้างขวาง พบตำนานที่สอดคล้องกับการเกิดเจ้าแม่กวนอิม เรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง
พระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคบุรุษเพศ
พระโพธิสัตว์กวนอิม วัดยานนาวา กรุงเทพฯ
สำหรับรูปประติมากรรมพระแม่กวนอิมในลักษณะของเพศหญิงที่เป็นที่นับถือกันในปัจจุบันนั้น แท้จริงแล้ว เมื่อครั้งศาสนาพุทธแรกเผยแผ่จากอินเดียสู่จีนนั้น รูปลักษณ์ของพระอวโลกิเตศวร(พระโพธิสัตว์กวนอิม)ก็เป็นภาพของพระโพธิสัตว์เพศชายเช่นเดียวกับในอินเดีย สันนิษฐานว่า คติเกี่ยวกับรูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิม น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสามก๊กและราชวงค์จิ้น จนกระทั่งถึงสมัยหนานเป่ยเฉา หลักฐานสำคัญก็คือ รูปวาดจิตรกรรมฝาผนังและรูปปฏิมากรรมแกะสลักพระโพธิสัตว์กวนอิมที่ปรากฏอยู่ในถ้ำม่อเกา (莫高; โม่เกา ตามภาษาจีนกลาง) ที่สร้างขึ้นในช่วงหนานเป่ยเฉานั้น เป็นภาพของพระอวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์กวนอิม) ที่มีลักษณะแบบเพศชาย มีริมฝีปากหนาและมีหนวดเครา ส่วนเหตุผลของความเปลี่ยนแปลงจากบุคลิกลักษณะของพระอวโลกิเตศวรที่เดิมเป็นเพศชายจนแปรเปลี่ยนเป็นเพศหญิงนั้น นักประติมานวิทยา สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากเหตุผล 2 ประการ
ประการแรก นั้นคือ พระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นผู้ทรงโปรดสัตว์โลก ผู้ตกทุกข์ได้ยาก และในสมัยโบราณนั้น ผู้หญิงมักได้รับการกดขี่ข่มเหงและทุกข์ทรมานมากกว่าเพศชาย จึงเกิดภาพลักษณ์ในด้านที่เป็นเพศหญิง เพื่อช่วยเหลือสตรีให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรม
ประการที่สอง นั้นคือ ผู้หญิงเป็นเพศที่มีความอ่อนโยนและมีจิตใจที่ดีงามกว่าเพศชาย โดยเฉพาะความรักของผู้เป็นมารดา อันเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาการุณย์ต่อบุตร
ดังนั้น จึงเชื่อกันว่า นี้คือเหตุเปลี่ยนแปลงของภาพแห่งลักษณะพระโพธิสัตว์กวนอิมที่แปรเปลี่ยนรูปลักษณ์เป็นเพศหญิงในที่สุด
ในด้านศิลปกรรมจีน ได้สะท้อนสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์กวนอิมที่แสดงถึงความเมตตากรุณา อาทิ ภาพพระแม่กวนอิมยืนประทับบนหลังมังกรกลางมหาสมุทร, ภาพพระแม่กวนอิมพรมน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากกิ่งหลิวในแจกัน, ภาพพระแม่กวนอิมประทับนั่งกลางป่าไผ่, ภาพพระแม่กวนอิมปางประทานบุตร และภาพพระแม่กวนอิมพันมือ เป็นต้น
แต่ไม่ว่าจะแสดงภาพแห่งพระแม่กวนอิมในลักษณะใด พระองค์ก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตากรุณา ที่ประทับอยู่กลางใจของผู้ศรัทธาจนถึงปัจจุบัน
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1097/1097928.x2lou21hre2r.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098020.x2nt9uhnjqw.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098026.x2ntf4ppe6r.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098030.x2ntlp8lq5j.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098029.x2ntg91kbkta.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098025.x2ntd117dlkq.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098034.x2ntqfe62nj.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098033.x2ntpiwj07r.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098023.x2ntbj13ltrb.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098028.x2ntfy1f6uc6.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098032.x2ntmernwhc.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098021.x2ntahlfybi.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098034.x2ntqfe62nj.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1097/1097980.x2mdcm16b2uw.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1097/1097999.x2mkea1m1t30.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098032.x2ntmernwhc.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1098/1098031.x2ntm1sl2kw.n2.webp)