จะเป็นมวยล้ม ต้มคนดูอีกไหม ... หลัง AIS ประกาศซื้อ JAS
เพียงแค่มีแถลงการณ์ จาก AIS ประกาศซื้อ 3BB ก็ทำให้หุ้นทั้ง 2 บริษัทปรับตัวอย่างรุนแรงในช่วงเช้า
• หุ้น Jas - ดิ่งลงกว่า 5.56% ไปอยู่ที่มูลค่า 3.40 บาท
• หุ้น Advanc - พุ่งขึ้นกว่า 2.28% ไปอยู่ที่ 202.00 บาท
ส่วนหุ้น True และ dtac ขยับอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 0.86% - 1.12% เท่านั้น ไม่เหมือนตอนที่ทรูประกาศควบรวมกับดีแทค ที่หุ้น AIS ได้รับผลพลอยได้จากการประกาศควบรวมในครั้งนั้นไปด้วย
หากมองย้อนไปในอดีตกับชื่อนี้ >>> JAS 4G <<< ที่คนไทยหลายคนชอบเชียร์มวยรอง หวังว่าแจ๊สจะเข้ามาเป็นมากกว่าไม้ประดับในการประมูลใบอนุญาต 4G เมื่อปลายปี 2558 กับการสร้างประวัติศาสตร์การประมูลที่ยาวนานถึง 4 วัน ว่าคนไทยจะมีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหม่ ที่ชื่อ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ที่เข้ามาสู้กับ True อย่างดุเดือดจนทำให้สามารถชนะประมูลคลื่นในล็อตที่ 1 ในราคาถึง 75,654 ล้านบาท
ก่อนที่สุดท้ายแล้ว JAS 4G ที่อยู่ในกำมือของ “พิชญ์ โพธารามิก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ตัดสินใจทิ้งใบอนุญาต 4G และยอมให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยึดเงินค้ำประกัน 644 ล้านบาท หลังไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าใบอนุญาตงวดแรก 8,040 ล้านบาท
ทำให้เกิดคำถามตามมามากมายเกี่ยวกับพฤติกรรมของแจ๊ส ว่า การเข้าร่วมประมูลครั้งนั้น เป็น “ทฤษฎีการสมคบคิด” เพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจกับ “ใครบางคน” หรือ ต้องการเข้ามาทำกำไรจาก “ตลาดหุ้น” กันแน่
จนทำให้ AIS มารับมรดกบาป 4G จาก JAS ไปดูแลต่อ
ซึ่งในช่วงที่ผ่าน แจ็สมีการซื้อหุ้นคืนหลายครั้ง และเทปันผลอย่าต่อเนื่อง จนทำให้ “คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป” จากการถูกริบเงินประกันจำนวน 644 ล้านบาท เท่านั้น
ผ่านมาเกือบ 5 ปี คำถามดังกล่าวก็ยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ จนล่าสุดก็เกิดดีลใหญ่ขึ้นอีกครั้ง
โดยก่อนหน้าเมื่อต้นปี 2565 มีกระแสข่าวในโลกออนไลน์ว่า JAS เตรียมขายกิจการ 3BB ให้ AIS แต่ก็ได้มีการตอบปฏิเสธไปที่ตลาดหุ้นว่า ไม่มีการขายธุรกิจ 3BB และไม่ได้รับการติดต่อจาก AIS
ถ้าหากเมื่อต้นปี 2565 ไม่เคยมีการพยายามพูดคุยถึงดีลซื้อ-ขายดังกล่าวจริง แล้ว JAS กับ AIS เริ่มไปพูดคุยกันเมื่อไหร่ อย่างไรกันแน่ ... คงได้แต่ตั้งคำถามตัวโตๆ ถึงผู้กำกับดูแลอย่างแ ว่า
"ความผิดพลาดครั้งนู้น จากการประมูล 4G ยังติดตาคนไทยหลายๆ คน ที่การทำงานของหน่วยงานกำกับดูแลที่ทำได้เพียงยึดเงินค้ำประกันการประมูล โดยที่ไม่ต้องให้แจ๊สต้องชดใช้ค่าเสียหายใดใด เพราะมี AIS มารับใบอนุญาตไป"
ยังเป็นคำถามค้างคาใจว่า กสทช. มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่มีจุดอ่อน นำไปสู่ปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนั้น อย่างไร
อันนี้ก็เรียกค่าเสียหายไม่ได้ อันนั้นก็ไม่ได้ จนผ่านไปแล้วกว่า 5 ปี สรุปว่า ความเสียหาย และความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นครั้งนั้น คุ้มค่ากับมูลค่าตลาดและความน่าเชื่อถือของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยอย่างไร
เพราะแม้แต่ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ก็เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับการประมูล 4G ในครั้งนั้นไว้ว่า
"การเพิกถอนใบอนุญาตต่างๆ ของแจ๊สไม่สามารถทำได้เพราะ คนละนิติบุคคล"
ก็ได้แต่หวังว่า ความโกลาหลครั้งนั้น จนมาถึงความวุ่นวายในครั้งนี้ หน่วยงานที่กำกับดูแลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
• คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
• สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI
• นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ต่างๆ
• ฝ่ายค้าน
• สภาองค์กรของผู้บริโภค
ที่เคยออกมาพูดถึงประโยชน์ของสมบัติสาธารณะนั้น เป็นประโยชน์ของคนในชาติทุกคน ซึ่งคนไทยควรจะต้องได้ประโยชน์จากการควบรวมของธุรกิจที่จะเกิดขึ้น บนผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ว่าจะได้ประโยชน์อะไร ??
ก็ได้แต่หวังว่า พวกคุณจะทำตามที่เคยพูด
จะออกมาแสดงท่าทีอย่างเข้มแข็งเหมือนตอนที่ออกมาคัดค้านทรูควบรวมกับดีแทคด้วยนะ
อย่าปล่อยให้เงียบจนใจหายแบบนี้เลย