ความจริง “ค่าบริการมือถือไทย” ติดอันดับ 5 ต่ำที่สุดในเอเชีย
ความจริง “ค่าบริการมือถือไทย” ติดอันดับ 5 ต่ำที่สุดในเอเชีย
สืบเนื่องจากดราม่ากังวล “ค่าบริการมือถือ” จากกรณีดีลทรูและดีแทค คาดเดาประเมินสิ่งที่จะเกิดขึ้น หากดีลนี้สำเร็จจะส่งผลให้ “ค่าบริการมือถือ” แพงขึ้นกระทบผู้บริโภค มองจากหลักเกณฑ์ตัวเลือก และโครงสร้าง Sub (จำนวนซิมที่เปิดบริการ) ส่วนแบ่งตลาดที่มากกว่าเจ้าตลาดได้ในอนาคต สู่การมีอำนาจในการปรับราคาตามอำเภอใจได้ ทั้งในเชิงโครงสร้างและเชิงพฤติกรรม แต่ความจริงของประเด็นนี้ ประเทศไทยมีผู้กำกับราคาบริการให้ธรรมอยู่ คือ กสทช. อ้างอิงจากมาตรา 51 หน้าที่กำกับดูแลโครงสร้างเพดานค่าบริการ ตามพระราชบัญญัติหน้าที่ของกสทช.
https://www.nbtc.go.th/Services/serviceandarticleoftelecomeconomy/รายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคมรายไตรมาสและรายปี-(1)/ปี-2564/52385.aspx?lang=th-th
สำหรับข้อเท็จจริงเรื่องนี้ อ้างอิงจากรายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคม ไตรมาสที่ 3/2564 (กรกฎาคม – กันยายน 2564) เผยแพร่เมื่อ 2 ก.พ.2565 ได้ระบุไว้ว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการโทรคมนาไทย บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีอัตราค่าบริการเฉลี่ยในแต่ละประเภท คือ
- ค่าบริการเสียงอยู่ที่ 0.48 บาทต่อนาที
- บริการ SMS อยู่ที่ 0.67 บาทต่อข้อความ
- บริการ MMS อยู่ที่ 1.80 บาทต่อข้อความ
- และบริการ Mobile Internet อยู่ที่ 0.10 บาทต่อ MB
ซึ่งในแต่ละประเภทของผู้ให้บริการทุกราย "มีค่าบริการเฉลี่ยไม่เกินอัตรา" ตามประกาศ กสทช. ไว้ในระเบียบกำหนดและกำกับดูแลโครงสร้างอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ (บังคับใช้เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562) และข้อสรุปรายงานนี้พบว่า ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เน้นทำการตลาดกับผู้ใช้บริการสมาร์ทโฟน เพราะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่รายได้ด้านค่าบริการเสียงและข้อความมีรายได้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
สอดคล้องกับข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคากรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ "แข่งขันค่อนข้างรุนแรง" ใช้กลยุทธ์ด้านราคาสมาร์ทโฟนพร้อมทั้งต้องลงทุนขยายเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นต้นทุนขยายฐานผู้ใช้บริการ หวังหนุนเติบโตรายได้ (Value Share) ของผู้ให้บริการ
ปัจจุบันประเทศไทย มีจำนวนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนเติบโตมากถึง 80 ล้านเครื่อง ทำให้มีผู้ใช้งานโมบายอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนติดอันดับที่ 78 ของโลก และค่าบริการเฉลี่ยพบว่า ไทยมีสัดส่วนค่าใช้บริการต่ำเป็นอันดับ 5 ในอาเซียน เป็นรองประเทศสิงค์โปร์ มาเลเซีย และบรูไน จากข้อมูลนี้ สะท้อนคนไทยเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากราคาต่ำกว่าหลายๆ ประเทศในอาเซียน แบบไม่มีความเลื่อมล้ำในด้านราคาแต่อย่างใด
เพราะ ธุรกิจโทรคมนาคมไทย เป็นธุรกิจที่ไม่สามารถปรับเพิ่มราคาได้ตามอำเภอใจได้ แม้จะต้องแบกรับต้นทุนมากมายก็ตาม ด้วยธุรกิจนี้ถูกกำกับดูแล ดังนั้น ในข้อเท็จจริงจึงไม่น่าวิตกกังวลในกรณีที่ “ทรู” รวมกับ “ดีแทค” แล้วจะราคาสูงขึ้นนั้น อย่าลืม!! กสทช. ทำหน้าที่ กลไกสำคัญในการควบคุมและกำกับดูแล จากรายงานที่อ้างอิงไปเบื้องต้นนั้น ที่ผ่านมา กสทช.ได้ทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดีมาโดยตลอด แม้จะมี กสทช. ชุดใหม่ ก็ยังคงทำหน้าที่นี้ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติต่อไป
--------------------------------------------