เปลี่ยนรัฐบาล หรือ นายก นาทีนี้ควรเรียกร้องข้อไหน
นับว่าถึงตาจนของรัฐบาลที่ในยามนี้แค่หายใจคนก็ยังด่า กับการแก้ไขสถาณการณ์วิกฤต COVID 19 ตั้งแต่ปลายปี 2019 จนถึงปี 2021 ล้มเหลวและทำให้สถานการณ์ปัจจุบันวิกฤตมาก ทั้งวัคซีนที่มีไม่เพียงพอตามเป้าที่รัฐบาลประกาศ รวมไปถึงยอดผู้ติดเชื้อที่ตอนนี้ยอดทะลุหลักหมื่นต่อวัน ส่งผลให้ระบบสาธาณสุขถึงกับชักหน้าไม่ถึงหลัง
จนถึงเวลานี้ หลายฝ่ายกดดันตั้งแต่ม็อบที่มาชุมนุมในวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมาเพื่อกดดันให้นายกคือ พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ลาออก และให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล
แต่ถ้าเรามองสภาพบริบทและสถาณการณ์ปัจจุบันทำให้เรามาคิดอีกด้านว่าเมื่อถึงที่สุด เมื่อรัฐบาลหรือนายกลาออกจะยังอย่างไรต่อไป?
ถ้าเราย้อนกลับไปในปี 2560 ที่เป็นบ่อเกิดของรัฐธรรมนูญปี 2560 ทุกคนทราบดีถึงการได้มาของที่มาของการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีว่ามาจากคนนอก และจากการที่ ส.ว. 250 มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี ทำให้ในการเลือกตั้ง ในปี 2562 ทำให้พรรคเพื่อไทยซึ่งในเวลานั้นได้คะแนนที่นั่ง ส.ส. ในสภา 136 ที่นั่ง ที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ด้วยกลไก ส.ว. และรัฐธรรมนูญที่บิดเบี้ยว ทำให้เราได้พลเอกประยุทธ์เป็นรัฐบาล
https://www.bbc.com/thai/thailand-47730271
ในเมื่อเป็นรัฐบาลที่มีฝ่ายค้านการทำงานและการดำเนินนโยบายต้องผ่านรัฐสภา จึงทำให้ การบริหารงานใน 2 ปีที่ผ่านมาดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงและไม่ไว้วางใจอย่างมากจากตัวผู้แทนฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายเดียวกันเองรวมไปถึงประชาชนผู้เป็นอำนาจอธิปไตย
วิกฤตการณ์โควิด 19 ที่ได้กล่าวมาในข้างต้นจึงทำให้ตัวรัฐบาลต้องรวบอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินในสถาณการณ์ฉุกเฉินในปี 2563
https://www.thansettakij.com/general-news/426464
นั่นคือการรวบอำนาจให้รัฐบาลส่วนกลางและนายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการสั่งการทุกองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขสถานการณ์ให้ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นายกมีการตัดสินใจที่เร็วและเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา และสามารถสั่งการณ์ได้อย่างทันท่วงที
ในตลอดระยะ เวลาหนึ่งปีกว่าจนตอนนี้เกือบเข้าสู่ปีที่ 2 ที่สถานการระบาดโควิด 19 กลับมาสู่การระบาดในระลอกที่ 3 ที่ยอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นทะลุ หลักหมื่นต่อวันในปัจจุบัน เป็นภาพสะท้อนถึงศักยภาพในการตัดสินใจและการบริหารงานของตัวนายกรัฐมนตรี ทั้งเรื่องวัคซีนและการออกมาตรการณ์โดยไร้การเยียวยาจากภาครัฐว่าไม่มีประสิทธิภาพและโยนงานกันไปกันมาอย่างเห็นได้ชัด จึงไม่แปลกใจที่คนจำนวนมากออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก และผุดแคมเปญในการที่จะให้พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่ถ้าเราหันมามองอีกด้าน เรากลับพบว่าถ้าพรรคร่วมถอนตัว และคณะรัฐบาลก็ต้องหมดวาระและการดำรงตำแหน่งในการสั่งการต่างๆ นั้นก็หมายถึงรัฐบาลสมารถทำอะไรได้ มันจะเข้าสู่สุญญากาศทางการเมือง และทำให้รัฐบาลนำไปสู่การยุบสภา
ในกระบวนการหลังการยุบสภาก็ต้องมีรัฐบาลรักษาการที่ไม่มีอำนาจในการสั่งการ และในช่วงเวลาแบบนี้ การอนุมัติงบประมาณปละการสั่งการก็มีอยู่อย่างเรื่อยเพราะระบบโครงสร้างทางการเมืองของไทยเรา คือการสั่งการจากศูนย์กลาง ทำให้การสั่งการต่างๆเป็นไปอย่างล่าช้าจากกฎหมายของราชการที่ยุ่งยากและรุงรัง อาจทำให้สถานการณ์วิกฤตกว่าเดิม
หลังจากยุบสภาเสร็จ ก็ต้องดำเนินเรื่องให้นำไปสู่การเลือกตั้ง ในส่วนนี้เวลา เพียงแค่ 45- 60 กว่าวันหรือแค่ 2 เดือนการเปิดรับผู้สมัคร การหาเสียงหรือกิจกรรมต่างๆทางการเมืองคงเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน มันเป็นไปไม่ได้เลยถ้าตัวเลือกนี้จะเกิดขึ้นในเวลาที่วิกฤตแบบนี้
แต่ในเวลานี้หนทางที่ดีที่สุดที่พอจะแก้ไขปัญหาได้คือต้อง ให้ตัวนายก คือพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ลาออกจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเท่านั้น เพราะ ในเวลานี้ การเปลี่ยนหัวที่มีอำนาจในการสั่งการถือเป็นเรื่องที่ดีกว่า และไม่ต้องใช้เวลามากมายนัก
เมื่อนายกลาออก ก็ต้องมีแคนดิเดตที่พร้อมรับช่วงต่ออีกหลายคนที่พร้อมเข้ามาดำรงตำแหน่งในเวลานี้ เราอาจได้คนในพรรครัฐบาล หรือพรรคฝ่ายค้านมานั่งนายก อะไรก็ล้วนเกิดได้เสมอ เพราะในวิกฤตแบบนี้หัวใจหลักในการสั่งการคือตัวนายกรัฐมนตรี ถ้าเราได้คนสั่งการที่ดี อาจแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลานี้ได้ หรือไม่ก็ลดช่วงเวลาวิกฤตที่เกิดขึ้นอยู่
และข้อสำคัญอีกอย่างเลยที่เราลืมไม่ได้ ถึงแม้เราจะได้แม้ว่าเราอาจได้เลือกตั้ง เราจะได้เลือกตั้งในกติกาเดิมภายใต้ รัฐธรรมนูญ 2560 ที่มีส.ว. 250 และการคำนวณของ กกต. ที่มีความพิสดารมีปัญหาอีกล้านแปดที่เกิดขึ้นจากตัวกติกาตรงนี้
สรุปสั้นๆในเวลานี้คือว่า เราควรที่เราจะแก้ปมไวรัสที่ระบาดนี้ให้เสร็จสิ้นโดยการเปลี่ยนผู้นำหรือผู้รับผิดชอบก่อน และ
เมื่อมีความพร้อมจึงลุยเรื่องแก้กติกาเพื่อทวงคืนอธิปไตยของเราและร่วมร่างกติกาของเราอีกครั้งหนึ่งเมื่อโรคร้ายจากเราไป