"เศรษฐพงค์" ชี้ ทางออกของธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก
จริงๆ เรื่องของเงินดิจิตอลที่ใช้ในการซื้อขายโอนเงินระหว่างประเทสนั้น มีมาค่อนข้างนานพอสมควร แต่เนื่องจากวิกฤตโควิด-19 มันทำให้เราต้องมาสนใจกับมันเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น ล่าสุด
“โฆษกภูมิใจไทย” เชื่อ วิกฤตโควิด-19 ทำระบบการเงินเปลี่ยนแปลงมาก ชี้ เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล ทางออกธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทยและรองประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(กมธ.ดีอีเอส) ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทย ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนี้ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย แต่ทั่วโลกน่าจะสาหัสมากยิ่งขึ้นในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เพราะการเกิดวิกฤตไวรัสโควิด-19 กระทบการต่อลมหายใจของธุรกิจที่มีขนาดกลางขนาดเล็กที่จะต้องหาแหล่งเงินกู้ ซึ่งรัฐบาลต้องพยายามให้เงินทุนผ่านระบบธนาคารแต่เอาเข้าจริงธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก หลายแห่งที่ดูมีอนาคตก่อนสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 จะถูกทุบให้ขายด้วยราคาที่แสนถูกกับทุนต่างประเทศ ดังนั้นเรื่องเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (Peer to Peer lending Platform) จึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กได้ แทนที่จะต้องใช้สถาบันการเงินที่เป็นธนาคารเพียงอย่างเดียว
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า Peer to Peer lending Platform ของแบงค์ชาติที่มีข่าวเป็นปีแล้ว แต่มีการเริ่มทดสอบรายแรกเมื่อเดือนที่แล้วใน Regulatory Sandbox ซึ่งเป็นการทดสอบก่อนที่จะมีการเปิดให้บริการจริงได้ ซึ่งวิเคราะห์แล้วมองว่าไม่น่าจะทันการณ์ที่จะเป็นทางเลือกอะไรได้ ดังนั้นอาจต้องมองหา Peer to Peer lending Platform ของต่างประเทศแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้คริปโตเคอร์เรนซี่ (Cryptocurrency) หรือสกุลเงินดิจิทัล เป็นหลักประกันเงินกู้ ตอนนี้ก็กำลังรวบรวม Cryptocurrency ที่กระจัดกระจายในตลาดต่างๆ ที่หยุดติดตาม 1-2 ปีแล้ว ทำให้มูลค่าหายไปเยอะ ซึ่งในช่วงวิกฤติที่เกิดขึ้นนี้คิดว่าไม่น่าจะกลายเป็นห่วงชูขีพที่ราคาค่อยๆเพิ่มขึ้นได้ และนำมาใช้เป็นหลักประกันขอกู้เงินจาก Peer to Peer Platform ที่ได้ดอกเบี้ยถูกอย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 10% โดยอาจต่ำได้ถึง 4.5% และสามารถกู้ได้ถึง 70% ของมูลค่า Cryptocurrency อาจเป็นทางเลือกที่ไม่เลวในภาวะที่ไม่สามารถจะพึ่งพิงธนาคารหรือสถาบันการเงินในรูปแบบเดิมๆได้ ดังนั้นมุมมองเรื่อง Cryptocurrency จากวิกฤติโควิด-19 หนนี้น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอีกมาก