หุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัจริยะ Mi Robot จิ๋วแต่แจ่วจริงๆ
นวตกรรมที่ใกล้ชีวิตมนุษย์ทุกที่ Mi Robot Vacuum หุ่นยนต์ทำความสะอาดบ้านที่ถูกที่สุด โง่ที่สุด และฉลาดที่สุดในปฐพี มาทดสอบการใช้งานหุ่นยนต์ทำความสะอาดบ้านกันนะครับว่าจะฉลาดจริงไหม!!
หุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัจริยะตัวนี้เปิดตัวในช่วงปลายปี พ.ศ. 2559 มีความน่าสนใจที่ราคา และความสามารถที่อัดเทคโนโลยีมาอย่างเต็มสูบอย่าง Mi Robot Vacuum เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยถือเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งใน MIJIA Ecosystem จากที่ก่อนหน้านีจะเป็นหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์การแพทย์ อาทิเช่น หม้อหุงข้าว, เครื่องวัดความดันโลหิต, อุปกรณ์พกพาสำหรับไล่ยุง, กล้องวงจรปิด, กาต้มน้ำแบบคุมอุณหภูมิ, เครื่องกรองน้ำ, เครื่องกรองอากาศ, ปากกา, จักรยานไฟฟ้าพับได้และมาเกี่ยวกันได้ไง? กับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้กันเลยครับ
หุ่นยนต์ดูดฝุ่นตัวนี้เสนอราคา 1,699 หยวน หรือประมาณ 8,500 บาท ผมซื้อมาจาก Mi Shop สาขาเซินเจิ้น (แผนที่) เผื่อใครจะตามไปซื้อ ร้านนี้รับการชำระเงินเป็นสด Apple Pay และบัตรเครดิต/เดบิตที่มีสัญลักษณ์ Union Pay เท่านั้น
Mi Vacuum Robot มีรีวิวการใช้งานภาษาอังกฤษออกมาเยอะพอสมควร ถึงระดับถอดชิ้นส่วนหมดก็มี (ภาษารัสเซีย) ในไทยมีวิดีโอรีวิวพร้อมเสนอขายแบบไม่เป็นทางการอยู่บ้าง ในบทความนี้ จะเน้นประสบการณ์การใช้งานจริงของผู้เขียน และจุดสำคัญต่าง ๆ ที่คิดว่าควรเล่าสู่กันฟังครับ
แกะกล่อง
เริ่มต้นกันได้เลย กล่องหน้าตามประมาณนี้ครับ น้ำหนักรวม 6.6 กิโลกรัม (เฉพาะตัวหุ่นยนต์ 3.8 กิโลกรัม)
โดยรวมถือว่ากระบวนการถอดประกอบแปรงใต้ท้องและกล่องเก็บฝุ่นออกมาทำความสะอาด ง่าย และไม่ซับซ้อน ผมประทับใจในการออกแบบสไตล์แยกส่วน (modular) ของหุ่นยนต์ตัวนี้มากเป็นพิเศษ
เซนเซอร์รอบทิศ
การระบุตำแหน่งตัวเองและสร้างแผนที่ภายในห้อง
- Laser Distance Sensor เก็บข้อมูลสำคัญคือระยะห่างระหว่างหุ่นยนต์กับกำแพง/สิ่งกีดขวางในแนวราบ เพื่อนำไปสร้างแผนที่ ซึ่ง Xiaomi พัฒนาเองให้เหมาะกับงานภายในบ้าน หมุนได้ 360 องศา 1,800 รอบต่อนาที
- Wall Sensor เช็คว่าหุ่นยนต์วิ่งไปชนสิ่งกีดขวางหรือไม่ อย่างเช่น ชนกับกำแพง
- Ultrasonic Radar Sensor เช็คว่ามีสิ่งกีดขวางหรือไม่ โดยไม่ต้องรอหุ่นยนต์เดินไปชน และเช็คได้มากกว่าแนวราบ หลายระดับความสูง
- Cliff Sensor เช็คกว่าหุ่นยนต์จะวิ่งตกบันได้หรือไม่
- Electronic compass เช็คทิศทางของหัวหุ่นยนต์
- Gyroscope / Accelerometer เช็คความเร็วเชิงมุมและอัตราเร่งของหุ่นยนต์
- Speedometer เช็คความเร็วล้อของหุ่นยนต์การตรวจสอบความพร้อมทำงานของหุ่นยนต์
- Dust bin sensor เช็คว่าใส่กล่องเก็บฝุ่นเข้าไปในหุ่นยนต์แล้วหรือยัง
- Drop sensor ตรวจสอบว่าหุ่นยนต์ถูกวางไปบนพื้นแล้วหรือยัง
- หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mi Vacuum มีเซนเซอร์รอบตัว 12 จุด
ประสบการณ์การใช้งาน
- ดูดได้สะอาดขนาดไหน – สะอาดจากฝุ่นเหมือนใช้เครื่องดูดฝุ่น แต่ถ้าจะให้เนี๊ยบ ก็ต้องถูพื้นตามด้วยอีกที
- เสียง – เสียงดังพอ ๆ กับหุ่นยนต์เจ้าอื่น ๆ ที่มีขายในท้องตลาด สร้างความรำคาญในการสนทนากับคนอื่นได้ แต่ก็ยังสนทนากันรู้เรื่อง (vacuumguide วัดความดังได้ 61 เดซิเบล สำหรับแรงดูดระดับ 1, 64 เดซิเบล สำหรับแรงดูดระดับ 2, และ 68-70 เดซิเบลสำหรับแรงดูดระดับ 3)
- การควบคุมหุ่นยนต์ – ง่ายทั้ง manual และ remote control แต่ส่วนที่ยากคือการเซตอัปในครั้งแรก
- การดูแลรักษา – ถอดล้างทำความสะอาดง่ายมาก ส่วนถ้าเครื่องเกิดมีปัญหาน่าจะลำบากมาก เพราะไม่มีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในเมืองไทย ณ ตอนนี้ ใช้มา 3 เดือนยังไม่พบปัญหาอะไร
- ราคา – ถูกมาก พี่จีนทำได้ไง (ฮ่าาา) ถูกกว่ายี่ห้ออื่นที่มีความสามารถในการวางแผนเดินทำความสะอาด ควบคุมผ่านแอปจากระยะไกลได้ และพลังในการดูด ราคาไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นบาท
มีด้วยน่าจะดี - ไม่มีไม่เป็นไร – หากหุ่นยนต์ตัวนี้มีกล้องติดมาด้วยคงจะดีไม่น้อย เจ้าของบ้านจะได้เปิดแอปเชื่อมต่อกับหุ่นยนต์แล้วเปิดกล้องเข้ามาดูสภาพภายในบ้านได้ระหว่างที่ไม่อยู่บ้าน
สรุป
ถ้าอยากได้เครื่องดูดฝุ่น ซื้อเครื่องดูดฝุ่น ถ้าอยากได้หุ่นยนต์ดูดฝุ่น Mi Vacuum คุ้มราคามาก ๆ
แหล่งที่มา: https://thishop.com/detail/product?goodsId=861