หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รู้ลึกเกี่ยวกับ ฉลากอาหาร สำคัญมาก

โพสท์โดย SpiderMeaw
 

รู้ลึกเกี่ยวกับ ฉลากอาหาร รับรองกินปลอดภัย รู้ว่าอาหารที่คุณกินเข้าไปทำจากอะไรและมีส่วนผสมของอะไรบ้าง ดูจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทุกวันนี้วิทยาการเจริญขึ้น 

อาหารก็โดนผ่านกรรมวิธีทั้งกลายรูปและกลายพันธุ์มากขึ้น การรู้ส่วนผสมจะสามารถป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดกับคุณหากกินของชนิดนั้นบ่อยๆ ได้

อาหารสำเร็จรูปบางชนิดมีสารปนเปื้อนหรือไขมันอิ่มตัวซึ่งไม่ดีต่อร่างกาย และข่าวร้ายที่มาจากอาหารก็มีเข้าหูเราอยู่ทุกวัน อย่างข่าวในออสเตรเลียที่พึ่งค้นพบว่าเบอร์รี่แช่แข็งจากเมืองจีนทำให้เป็นโรคไวรัสตับอักเสบเอ หรือเห็ดอบแห้งบางชนิดที่มีสารอัลฟราท็อกซินอันเกิดจากเชื้อราทำให้ท้องเสียขั้นรุนแรงได้

อาหารมาจากไหนบ้าง

หลายครั้งที่เราพลิกดูที่ข้างกล่องหรือกระป๋องอาหารที่นำเข้าต่างประเทศแล้วรู้สึกงุนงงมากกับคำว่า ‘Made in’และ ‘Product of’ ตรงนี้มันแตกต่างกันอย่างไร ลองมาทำความเข้าใจกันหน่อยดีกว่า

    Made in หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตในประเทศนั้น แต่ไม่ได้บอกว่าส่วนผสมนำมาจากประเทศไหนบ้าง จะต่างกับ ‘Made in…From…’ ซึ่งบอกว่าผลิตในประเทศใด และส่วนผสมหลักมาจากประเทศใด แต่ก็ไม่ได้บอกว่าสัดส่วนของส่วนผสมที่นำเข้านั้นมีปริมาณอยู่ที่เท่าไหร่
    Product of  หมายถึงผลิตภัณฑ์ผลิตในประเทศนั้นๆ ส่วนผสมส่วนใหญ่ก็มาจากประเทศนั้นเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นส่วนผสมทั้งหมด 100%

มีอะไรอยู่ข้างในบ้าง

หากต้องการรู้ส่วนผสมของอาหารว่ามีอะไรอยู่บ้าง ก็ควรดูที่ส่วนประกอบอาหาร (Ingredient Lists) ซึ่งมักอยู่ด้านข้าง หรือด้านใต้ฉลากอาหาร โดยส่วนผสมที่มีมากที่สุดจะอยู่เป็นตัวแรก และไล่ลงมาตามเปอร์เซ็นต์ อย่างเช่น สตรอวเบอร์รี่โยเกิร์ต ก็จะมี นม น้ำตาล และสตรอ;เบอร์รี่อยู่ในอันดับต้นๆ และหากมีส่วนผสมที่หลายคนมักมีอาการแพ้อย่างไข่ เนย หรือถั่ว ก็จะมีระบุไว้ตรงนี้เช่นกัน

อ่านฉลากอย่างไร

ฉลากอาหารโดยทั่วไปจะมีทั้งฉลากแบบเต็ม (มีบอกปริมาณสารอาหาร 15 รายการ) และฉลากแบบย่อ (8 รายการ) ขึ้นอยู่กับว่าอาหารนั้นมีส่วนผสมอยู่เยอะหรือไม่

สิ่งที่ควรพิจารณาในฉลากก็คือ
1. หนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึงปริมาณการกินต่อครั้งที่ผู้บริโภคควรกิน ถ้ากินหมดในครั้งเดียว หนึ่งหน่วยบริโภคก็หมายถึงทั้งกล่อง แต่ถ้าต้องแบ่งกินหลายครั้ง หนึ่งหน่วยบริโภคก็หมายถึงปริมาณที่ควรกินในแต่ละครั้ง อย่างโกโก้ที่แบ่งเป็นซองเล็กๆ เป็นต้น

2. จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ หมายถึงเมื่อกินครั้งละหนึ่งหน่วยบริโภคแล้ว อาหารกล่อง ขวดหรือกระป๋องนี้กินได้กี่ครั้ง เช่น อาหารอยู่ในรูปขวดลิตร ที่ควรกินครั้งละ 200 มิลลิลิตร ก็เท่ากับจำนวนหน่วยบริโภคคือ 5 ครั้ง

3. คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึงเมื่อกินอาหารในหนึ่งหน่วยบริโภคแล้ว จะได้พลังงาน สารอาหารในปริมาณเท่าใด คิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของปริมาณที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน 4. ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน หมายถึงร้อยละของปริมาณสารอาหารต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หากมีโปรตีนร้อยละ 10 ก็หมายถึง ควรบริโภคโปรตีนเพิ่มอีก 90% เป็นต้น

จะดีต่อสุขภาพมากน้อยแค่ไหน

เพื่อเป็นข้อชี้แนะง่ายๆ ว่าควรกินปริมาณเท่าไหร่เพื่อคงความสุขภาพดีเอาไว้ ในปริมาณอาหาร 100 กรัมควรมีน้ำตาลน้อยกว่า 15 กรัม โซเดียมหรือเกลือน้อยกว่า 400 มิลลิกรัม ไขมันโดยรวมน้อยกว่า 10 กรัม โดยมีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 3 กรัม หากคุณมีโรคความดันสูงหรือเบาหวาน ก็ควรคุมระดับคอเลสเตอรอลให้ต่ำ หรือหากเป็นโรคไตก็ควรระวังปริมาณของโซเดียม และโพแตสเซียมซึ่งจะทำให้ไตทำงานหนัก เป็นต้น

เชื่อฉลากได้หรือไม่

ขอตอบเลยนะว่าทั้งได้และไม่ได้ ที่ตอบว่าเชื่อได้ก็เป็นเพราะส่วนผสมจะต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก ไม่อย่างนั้น อย. ก็ไม่ให้ผ่านชัวร์ๆ หากข้างกล่องเขียนว่า ‘เป็นแหล่งพลังงานแคลเซียมที่ดี’ (Good source of calcium) ก็ควรจะมีแคลเซียมอย่างน้อย 25% ของปริมาณที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน ส่วนอาหารปลอดไขมันหรือ Fat Free ก็ควรมีไขมันต่ำกว่า 0.15%  แต่โภชนาการก็เตือนว่าอาหารปลอดไขมันไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีคอเลสเตอรอลนะ และไม่ได้หมายความว่าจะเฮลตี้เสมอไป โดยเฉพาะเมื่ออาหารนั้นแทนรสหวานด้วยน้ำตาลเทียม ส่วนคำว่า ‘ไม่มีสารเพิ่มความหวาน’ หรือ No Added Sugar ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีน้ำตาลตามธรรมชาติ ซึ่งในบางครั้งติดมากับอาหารชนิดนั้นในปริมาณสูงซะด้วย

สดแค่ไหน

อาหารที่บรรจุในขวด กล่อง หรือกระป๋องที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี จะมีตราระบุวันที่ไว้ 2 แบบคือ

ควรบริโภคก่อน หรือ Best Before หมายถึงอาหารอาจลดคุณภาพลงเมื่อผ่านพ้นวันตามที่ระบุไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้หรือกินไม่ได้ ตราบใดที่กลิ่นและสียังดีอยู่

วันหมดอายุ หรือ Use by/Expiry date หมายถึง คุณไม่ควรกินอาหารนั้นหลังจากผ่านวันที่ระบุไปแล้ว เพราะแม้มันยังดูดีอยู่ แต่ก็เป็นไปได้ว่าจะมีเชื้อราหรือแบคทีเรีย

ในบางทีแม้อาหารหมดอายุไปแล้ว แต่ก็ยังกินได้ หากคุณเก็บเอาไว้ตามคำแนะนำที่ข้างกล่อง อย่างเช่น ‘หลังเปิดควรเก็บไว้ในตู้เย็น’ อย่างแยมหรือปลากระป๋อง ของเหล่านี้จะกินได้นานกว่าที่ระบุเอาไว้หากเก็บอย่างถูกต้อง


ข้อมูลบางส่วนจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ขอบคุณที่มา: http://www.senesouk.com/2016/11/blog-post_21.html
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
SpiderMeaw's profile


โพสท์โดย: SpiderMeaw
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
VOTED: paktronghie, ซาอิ, นางเบิร์ด, zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เฮอร์ริเคนพัดถล่มฟลอริดาทำคนดับแล้วนับสิบอดีตพระเอกเนื้อแน่นเผยแล้ว !! ออกจากวงการขณะกำลังโด่งดังเพราะ...?‘กันต์ กันตถาวร’ เคลื่อนไหวแล้ว ชาวเน็ตแห่ถล่มไลก์ หลังเห็นโพสต์นี้เทสลาเปิดตัวแท็กซี่ไฟฟ้าไร้คนขับพี่เขยดวลมีดกับน้องเมียต่อหน้าญาติ ดับ 1 สาหัส 1คนแห่สงสัย ไม่เคยเห็นคนแต่งชุดข้าราชการ ขึ้นรถเมล์-รถไฟฟ้า ผู้รู้เฉลยความลับสุดยอดอาหาร สำหรับคนที่จ้องคอม/มือถือนานๆไม่ได้จบหมอ? บอสหมอเอก ตรวจไม่เจอชื่อในระบบ แพทยสภามิสแกรนด์กัมพูชาประกาศลั่น! จะไม่ให้เกิดการจัดประกวด MGI ในกัมพูชาอีก หลังดราม่าหนัก!วิธีนอนให้หน้าเด็ก หน้าเด็กได้ด้วยการนอน เคล็ดลับความสวยด้วย การนอนหลับดราม่ามิสแกรนด์ระอุ นายแบบดัง-ผู้กำกับเขมรฟาดไม่ยั้งใส่ณวัฒน์ ทำไมทำแบบนี้โหนกระแสธุรกิจดัง "บอส" เบี้ยว! อดีตแม่ข่ายลุกขึ้นสู้ แต่ชาวเน็ตกลับสนใจ...อย่างอื่น?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ไม่ได้จบหมอ? บอสหมอเอก ตรวจไม่เจอชื่อในระบบ แพทยสภาเปิดรายได้ "ดิไอคอนกรุ๊ป" ย้อนหลัง 5 ปี มูลค่าบริษัทพุ่งสูงถึง 800 ล้านบาทงานลอยกระทงของเกาหลีใต้
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
ด่วน!ทนายตั้ม หอบหลักฐานแจ้งความเอาผิด 6 บอสใหญ่ธุรกิจดัง กล่าวหาฉ้อโกงประชาชนเกิดการรั่วไหลของสารเคมีอันตรายในรัฐเท็กซัสเกิดเหตุโจมตีเหมืองถ่านหินที่ปากีสถานอิสราเอล ยิงใส่ฐานกองกำลังรักษาสันติภาพ UN
ตั้งกระทู้ใหม่